ศาสตราจารย์เฉินผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้นำเสนอ RO (Reproduce number) ในการสำรวจการระบาดในระดับชุมชน อีกทั้งยังได้กล่าวถึงการที่ไต้หวันได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศติดตามผู้ติดเชื้อโควิด-19 และใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือส่งข้อความเตือนออกไปให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างทางสังคม ฯลฯ ทั้งหมดข้างต้นล้วนเป็นความสำเร็จในการควบคุมโรคของไต้หวัน นอกจากนี้ยังได้แนะนำเพิ่มเติมว่า หากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีฐานข้อมูลระบบประกันที่สมบูรณ์ ก็สามารถติดตามผู้ติดเชื้อได้ผ่านวิธีการสอบถามโดยตรง แล้วบันทึกข้อมูล ประวัติการเดินทาง สาขาอาชีพ ประวัติการติดต่อ และเป็นการระบาดแบบคลัสเตอร์หรือไม่ ฯลฯ และวิธีติดตามโดยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ทั้งสองวิธีข้างต้นสามารถนำมาพัฒนารูปแบบการดูแลควบคุมการแพร่ระบาดของประเทศนั้น ๆได้
ในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ ท่านทูตหลี่เฉาเฉิง ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศพม่า และ รศ.ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน โดยท่านทูตหลี่กล่าวว่า “ประสบการณ์ควบคุมโรคของไต้หวันได้ให้โอกาสเรียนรู้มากมายแก่ประเทศพม่า งานสัมมนาออนไลน์การป้องกันโรคระบาดด้วยระบบอัจฉริยะตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่-ไต้หวัน สมาร์ท เฮลท์แคร์ และกลยุทธ์ป้องกันโรคโควิด-19 ที่โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนจัดขึ้นถือเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่งสำหรับหน่วยงานสาธารณสุขในพม่า”
ในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ ท่านทูตหลี่เฉาเฉิง ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศพม่า และ รศ.ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน โดยท่านทูตหลี่กล่าวว่า “ประสบการณ์ควบคุมโรคของไต้หวันได้ให้โอกาสเรียนรู้มากมายแก่ประเทศพม่า งานสัมมนาออนไลน์การป้องกันโรคระบาดด้วยระบบอัจฉริยะตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่-ไต้หวัน สมาร์ท เฮลท์แคร์ และกลยุทธ์ป้องกันโรคโควิด-19 ที่โรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนจัดขึ้นถือเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่งสำหรับหน่วยงานสาธารณสุขในพม่า”
ทางด้านมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งได้เซ็นบันทึกข้อตกลงกับโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน โดย รศ.ดร.สุรินทร์ได้กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นหน่วยงานผู้จัดทำร่วมในงานสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ หวังว่าในอนาคตจะมีโอกาสร่วมมือกับโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนมากยิ่งขึ้นอีก” สพ.ญ.เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค ก็ได้แสดงความเห็นต่อการใช้และการรวบรวมข้อมูลระบบประกันที่แตกต่างกันของประเทศไทยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ดร.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ดร.เซียวเมิ่งซิน นักวิจัยจากโรงพยาบาลรามาธิบดีในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ต่างก็ได้วิเคราะห์ในประเด็นความร่วมมือของหน่วยงานวิชาการกับหน่วยงานรัฐและภาคธุรกิจ ด้านการพัฒนาเครื่องมือควบคุมโรค ชุดตรวจโควิด และวัคซีน ฯลฯ
กิจกรรมในครั้งนี้มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขกว่า 130 ท่าน ทั้งจากประเทศไทย พม่า อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ฯลฯ มาเข้าร่วมฟังและอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างคึกคัก สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถรับชมวิดีโอสัมมนาออนไลน์ฉบับเต็มได้ที่ YouTube: https://youtu.be/LAeRJnzvo_s