ว.เทคนิคสัตหีบ เซ็นสัญญากลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบิน พัฒนางานวิชาการสร้างกำลังคนอาชีวะ

ศุกร์ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๐๙:๒๙
นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมมือกับ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบิน ได้แก่ บริษัทซีเนียร์ แอร์โรสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด และสนามบินหนองปรือ ในการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์สนับสนุน และส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการฝึกอบรมวิชาชีพในสาขาวิชาการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน สาขาวิชาช่างซ่อมอากาศยาน และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบิน เพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพ และทักษะด้านผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน รวมถึงการได้รับประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีสมรรถนะวิชาชีพที่ตรงตามมาตรฐาน

เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การดำเนินความร่วมมือในครั้งนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน และการจัดการในลักษณะของ 'สัตหีบโมเดล’ คือการจับคู่การเรียนการสอนระหว่างวิทยาลัย และสถานประกอบการ โดยการยกห้องเรียนทั้งห้องเรียน หรือคลาสรูมในสาขาวิชานั้นๆ เพื่อมาเรียนกับบริษัท หรือสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยวิทยาลัย จะมีหน้าที่คัดสรรสาขาวิชา ร่วมกับ สถานประกอบการใน EEC ที่มีเครื่องมือ ความรู้ บุคลากร มีความชำนาญและในตลาดแรงงานมีความต้องการบุคลากรในสาขาวิชานั้นๆ สถานประกอบการจะเข้ามาร่วมออกแบบหลักสูตร เนื่องจากแต่ละสาขาวิชายังขาดครูอาจารย์ที่มีความรู้ มีความชำนาญจริงๆ โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ NEWS-Curve ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อการบริหารจัดการทั้งในการจัดตารางเรียน การพัฒนาหลักสูตร และการฝึกปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับการทำงานของบริษัทหรือสถานประกอบการ ซึ่งเป็นแนวทางในแผนการพัฒนาบุคลากรด้านกำลังคนระดับอาชีวศึกษา โดยมีการประเมินความสามารถในการผลิตกำลังคนอาชีวะเข้าสู่ตลาดในพื้นที่ EEC เพื่อรองรับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในปี 2564 และมีแนวโน้มในการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานที่ดี และถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะสามารถต่อยอดและขยายผลสร้างแรงงานทักษะสูงให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ในอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งแรงงานนำเข้า

ด้าน นายไซมอน เจฟฟีย์เชลฺส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติงาน บริษัท ซีเนียร์ แอโรสเปซ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่าบริษัทเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานมากว่า 15 ปี โดยบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมในหลายด้าน หลังขานรับนโยบายรัฐที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินและอากาศยานชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ด้วยการเพิ่มไลน์โรงงานผลิต เพื่อรองรับโปรเจค "สัตหีบโมเดลโดยมีเครือข่ายความร่วมมือ จาก Mazak และ Mitutoyo ให้ความร่วมมือสนับสนุนเครื่องจักรเพื่อรองรับหลักสูตร ส่วนการขยายไลน์ผลิตเพื่อรองรับโปรเจค 'สัตหีบโมเดล’ ซึ่งบริษัทได้ให้ บริษัท พาต้า เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินการในการวางระบบต่าง ๆ ในไลน์การผลิตครั้งนี้ เพื่อเข้าร่วมโครงการสัตหีบโมเดลพัฒนาบุคลากร รองรับนโยบายรัฐ ดันไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินและอากาศยานของภูมิภาคเอเชีย โดยตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศดังกล่าว กับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เพื่อสร้างบุคลากรแรงงานทักษะสูงด้านอุตสาหกรรมการบิน และ โลจิสติกส์ ผลิตนักศึกษาระบบทวิภาคี คาดว่าจะเปิดหลักสูตรได้หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งในแต่ละปีคาดว่าจะสามารถผลิตนักศึกษาทักษะสูงด้านการผลิตและซ่อมชิ้นส่วนอากาศยานให้จบออกมาได้ปีละ 15 คน โดยปีแรกจะผลิตนักศึกษาออกมา 11 คน ขณะนี้ได้พัฒนาหลักสูตรที่พร้อมสำหรับการเปิดภาคการศึกษาแรกของปีการศึกษา 2563 มีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 6 คน ที่จบการศึกษาระดับ ปวช. และผ่านการศึกษาในสาขาเทคโนโลยีเครื่องมือและเครื่องจักรกล และคัดเลือกบุคลากรของบริษัท 5 คน รวมมีผู้เรียนทั้งหมด 11 คนในชั้นเรียนแรก โดยทั้งหมดจะได้รับทุนการศึกษาเต็มรูปแบบจาก บริษัทฯ และประกาศนียบัตรด้านเทคโนโลยีการผลิตสำหรับชิ้นส่วนอากาศยาน

โดย ดร. อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก กล่าวถึงการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาตะวันออกว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนาประเทศ สวนทางกับความต้องการของภาคการผลิตที่กำลังพัฒนาและอยู่ในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจทั้งโลกกำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ทั้งนี้ ตัวเลขจากกระทรวงแรงงานเผยว่า ส่วนที่มีการขาดแคลนมากที่สุด คือ "แรงงานฝีมือด้านเทคนิค" โครงการ “สัตหีบโมเดล” ถือเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีของ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาเป็น "โมเดลต้นแบบ" ในการสร้างบุคลากรแรงงานทักษะสูงให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคผลิต รองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC และพื้นที่ใกล้เคียง จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกเข้าสู่ขั้นวิกฤต อย่างไรก็ตามคาดว่า ตลาดชิ้นส่วนหลังการขายเครื่องบินทั่วโลก (The global aircraft after market parts market) ยังสามารถอยู่ในตลาด และยังอยู่ในความต้องการ เนื่องจากหลายสายการบินยกเลิกแผนในการซื้อเครื่องบินใหม่ และใช้วิธีซ่อมบำรุงเครื่องบินเดิมให้ดีเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version