'ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น’ ต่อยอดประสบการณ์ออกแบบระบบออโตเมชั่น-โรบอท ผนึกพันธมิตรพัฒนาหุ่นยนต์ รองรับประเทศไทยเป็นเมดิคอลฮับ

พุธ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๔:๓๐
'ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น’ มองศักยภาพประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมดิคอลฮับของภูมิภาค หลังแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ดี ผนึกกำลังพันธมิตรพัฒนาหุ่นยนต์ 'AGV Hospital Cart Transport System’ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อรับ-ส่งยา อาหาร และสื่อสารกับคนไข้ในโรงพยาบาล ช่วยลดภาระทีมแพทย์และพยาบาล พร้อมยกระดับสู่ผู้พัฒนาหุ่นยนต์แบบ Automated Mobile Robots (AMR) ที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สแกนเนอร์นำทาง และ GPS กำหนดพิกัด รองรับดีมานด์และร่วมสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ ตลอดจนศักยภาพประเทศไทยในการเป็นเมดิคอลฮับของภูมิภาคนี้

นางกัลยาณี คงสมจิตร ประธานกรรมการ บริษัททีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์เครื่องจักรขนาดใหญ่ และให้คำปรึกษาด้านการดูแลและซ่อมบำรุง ภายใต้แนวคิด 'Number 1 F.A. Solutions Provider in Thailand’ เปิดเผยว่า บริษัทฯ เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (เมดิคอลฮับ) ของภูมิภาคอาเซียน หลังจากสามารถบริหารจัดการและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก รวมถึงมีอัตราผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตในระดับต่ำ จึงมองว่าการนำนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาแบ่งเบาภาระของทีมแพทย์และพยาบาลนั้นมีความจำเป็น และช่วยลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากการสัมผัส รวมถึงขับเคลื่อนบริการทางการแพทย์ให้มีศักยภาพที่ดียิ่งขึ้น

ล่าสุด บริษัทฯ จึงใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและวางระบบออโตเมชั่นในโรงงานอุตสาหกรรม ก้าวสู่ผู้พัฒนาหุ่นยนต์แบบครบวงจร โดยร่วมมือกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) พัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ 'AGV Hospital Cart Transport System’ ที่มีความสามารถในการเคลื่อนที่บนแถบแม่เหล็กนำทางได้เองโดยไม่ต้องควบคุมสั่งการ เพื่อเป็นผู้ช่วยในการขนส่งยา อาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ สามารถสื่อสารกับคนไข้ผ่านหน้าจอของหุ่นยนต์และหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้เองด้วยระบบเซ็นเซอร์ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระและลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ โดยสามารถผลิตหุ่นยนต์ได้ด้วยต้นทุนต่ำเพียงตัวละประมาณ 4 แสนบาท และมีคุณภาพมาตรฐานเทียบกับหุ่นยนต์ AGV นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาอยู่ที่ตัวละ 8 แสน – 1.2 ล้านบาท

“การที่ประเทศไทยจะก้าวสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 จำเป็นต้องการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและหุ่นยนต์เข้ามาใช้เพิ่มขีดความสามารถการผลิตและให้บริการ ซึ่งรวมถึงการให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ เราจึงมองว่าการพัฒนาหุ่นยนต์ AGV เพื่อเป็นผู้ช่วยในโรงพยาบาลมีความจำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคตและก้าวสู่ยุคดิจิทัล และยังสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้อีกด้วย” นางกัลยาณี กล่าว

สำหรับหุ่นยนต์ AGV Hospital ได้รับการออกแบบและพัฒนาด้วยอุปกรณ์พิเศษ 'เกรดอุตสาหกรรม’ โดยนำจุดแข็งของพันธมิตรทั้ง 3 ฝ่าย ด้านระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์โลจิสติกส์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมนำมาประยุกต์ในการสร้างหุ่นยนต์ดังกล่าว ซึ่งพัฒนาให้สามารถสั่งการได้ทั้ง 2 ระบบ แบบ 2 in 1 สามารถเคลื่อนที่ไปหาคนไข้ได้เองตามเส้นแม่เหล็กที่สามารถนำไปติดตั้งและปรับเปลี่ยนได้ง่ายโดยไม่ต้องมีผู้ควบคุม หรือสั่งการทางไกลจากโมบาย แอปพลิเคชั่น หรือรีโมทคอนโทรล โดยติดตั้งกล้องและจอแสดงผลบนตัวหุ่นยนต์เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถสื่อสารกับคนไข้ มีระบบสแกนคนไข้เพื่อยืนยันตัวตน สามารถตรวจวัดอุณหภูมิโดยไม่ต้องสัมผัสคนไข้ มีระบบทำความสะอาดตัวเองเพื่อกำจัดเชื้อโรคหลังจากทำงานเสร็จ ติดตั้งเซ็นเซอร์กันชนหน้า-หลังป้องกันการชนสิ่งกีดขวาง และใช้งานต่อเนื่องนาน 6-8 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆได้อีกด้วย

ประธานกรรมการ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทฯ ไม่หยุดการพัฒนาต่อยอดจากระบบ AGV ล่าสุดได้ยกระดับการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์แบบ Automated Mobile Robots หรือ AMR ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้โดยไม่ต้องใช้เส้นแถบแม่เหล็ก โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สแกนเนอร์ และระบบ GPS ในการกำหนดพิกัด เพียงมี Floor plan ของอาคารสถานที่และใช้ระบบ 5G เป็นตัวเชื่อมสัญญาณ ถือเทคโนโลยีและวิทยาการที่ล้ำสมัยของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยุค 4.0

“เราต้องการขยายขีดความสามารถจากผู้ให้บริการด้านโซลูชั่นแก่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มาเป็นผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหุ่นยนต์ โดยเชื่อว่าภายใน 2 ปีข้างหน้า ปริมาณความต้องการใช้หุ่นยนต์ AGV และ AMR มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีอัตราเติบโตถึง 300% จากปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการในโรงพยาบาล ตลอดจนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการนำนวัตกรรมเข้าเพิ่มขีดความสามารถด้านการบริการและภาคการผลิตในอนาคต เพื่อทดแทนแรงงาน และพัฒนาทักษะบุคลากรด้านอื่นๆ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กร” นางกัลยาณี กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version