เซี่ยปิ่งหรง ผู้จัดการจากบริษัท imedtac ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ของทางบริษัท 3 ชิ้น ได้แก่ รถเข็นดูแลผู้ป่วยระยะไกล ตู้ยาอัจฉริยะ และกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ รถเข็นดูแลผู้ป่วยระยะไกลที่สามารถควบคุมได้ผ่านการใช้ท่าทางมือไปยังจอควบคุมได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานมากที่สุด เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เห็นภาพได้ชัดเจนแล้วสามารถคิดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่ยังสามารถลดโอกาสการแพร่ระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในเขตกักกันโรคด้วย เฉินจิ้งซวิน ตัวแทนฝ่ายขายจากบริษัท Markstein Sichtec Medical Corporation ได้แนะนำ Trachway วิดีโอลาริงซ์โกสโคป (Video Laryngoscope) ของทางบริษัท ด้วยหน้าจอที่แยกออกได้และกล้องที่ติดตั้งที่ปลายด้ามของอุปกรณ์ชิ้นนี้ ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดหลังแผ่นกั้นป้องกันโรค ทำให้การฉีดยาชาระหว่างการผ่าตัดสามารถทำได้โดยสะดวก
หลี่จวิ้นเสียน ผู้ช่วยผู้จัดการจากบริษัทIron Force Industrial ได้แบ่งกันประสบการณ์การติดตั้งห้องแยกป้องกันเชื้อแบบเคลื่อนที่ (Modular Isolation Room) ในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักและมีทรัพยากรทางการแพทย์จำกัด ว่าสามารถช่วยกักกันผู้ต้องสงสัยติดเชื้อได้จำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีฟิลเตอร์ที่สามารถช่วยลดการแพร่ระบาดทางอากาศได้อีกด้วย หลังจากแบ่งปันประสบการณ์เสร็จสิ้นแล้ว มีผู้เข้าร่วมฟังได้แสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ดร.ลอยซ่า จี โอเรนเซ่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จากสถาบันMondial Medical Technologies ประเทศฟิลิปปินส์ ได้กล่าวว่ามีความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของไต้หวัน และได้เคยซื้ออุปกรณ์วิดีโอลาริงซ์โกสโคปของบริษัทMarkstein Sichtec Medical Corporation มาก่อนด้วย นอกจากนี้ ยังสนใจในห้องแยกป้องกันเชื้อแบบเคลื่อนที่ของบริษัทIron Force Industrial และหวังว่าจะสามารถเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายห้องแยกป้องกันเชื้อแบบเคลื่อนที่ในฟิลิปปินส์ได้ หยูจื้อหาว ผู้จัดการแผนกธุรกิจต่างประเทศ จากUnison Healthcare Groupได้กล่าวว่า “ทางบริษัทฯ อยากจะสร้างแพลตฟอร์มหนึ่งเพื่อช่วยเปิดตลาดในประเทศเอเชียอาคเนย์ให้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพดีของไต้หวัน”
นางสาวซยาเคลล่า หัวหน้าแผนกการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศมาเลเซียก็ได้กล่าวว่า “อุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะมากมายในมาเลเซียยังต้องการการพัฒนาอีกมาก หวังว่าจะสามารถนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะคุณภาพดีของไต้หวันมายังมาเลเซียแล้วนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19ได้”
จากการแบ่งปันประสบการณ์ของทั้งสามบริษัทจะเห็นได้ว่า สินค้าทางการแพทย์อัจฉริยะของไต้หวันมีทั้งนวัตกรรมและคุณสมบัติการใช้งานที่เพียบพร้อม ไม่เพียงแต่สามารถใช้งานได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 แต่ยังสามารถใช้ได้ในสถานการณ์ทางการแพทย์ที่หลากหลายหลังจากพ้นวิกฤตนี้แล้ว อีกทั้งช่วยยกระดับสมรรถภาพและสิ่งแวดล้อมในการดูแลรักษาได้เป็นอย่างมาก
งานสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ราว 120 ท่านจากนานาประเทศ อาทิ ประเทศไทย พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี มาเลเซีย ฯลฯ มาเข้าร่วมฟัง นอกจากนี้ ยังมีผู้ชมราว 100 ท่านรับชมถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊กด้วย งานสัมมนาออนไลน์ครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ โดยจะเป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากบริษัทอุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะไต้หวันอีก 3 บริษัท รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่หน้าเว็บไซต์กิจกรรมhttps://c19webinars.visionthai.net/ คลิปวิดีโอสัมมนาออนไลน์ฉบับเต็มสามารถดูได้ที่https://youtu.be/KX3quM8JaX8