สมาชิกใหม่จากคอลเลคชั่นซานโตส-ดูมงต์ เรือนเวลาในตำนานจากคาร์เทียร์

อังคาร ๓๐ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๔:๐๖
เราอาจนึกว่าเราทราบทุกเรื่องเกี่ยวกับเรือนเวลาซานโตส เดอ คาร์เทียร์ (Santos de Cartier) แล้ว เช่น เป็นนาฬิกาข้อมือที่หลุยส์ คาร์เทียร์ (Louis Cartier) สร้างสรรค์ในปี 1904 เป็นพิเศษเพื่ออัลแบร์โต้ ซานโตส-ดูมงต์ (Alberto Santos-Dumont) สหายนักบินของหลุยส์ เพื่อให้ง่ายต่อการดูเวลาขณะที่ขับเครื่องบิน นาฬิการุ่นนี้ยังเป็นนาฬิกาเรือนแรกสำหรับสุภาพบุรุษที่ทำให้ผู้คนจดจำด้วยหน้าปัดทรงสี่เหลี่ยมพร้อมน็อตบนขอบตัวเรือนที่สะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น และเราก็ทราบว่านาฬิกาเรือนนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแกร่ง เป็นเสมือนเครื่องประดับแห่งความก้าวล้ำ ทว่าเรามิอาจคาดเดาได้เลยว่ารูปทรงอันคลาสสิกไร้กาลเวลานั้นยังคงสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างไม่หยุดยั้งในการตีความเพื่อสร้างเรือนเวลาชิ้นใหม่

วันนี้คาร์เทียร์ (Cartier) แบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาสัญชาติฝรั่งเศส ได้เปิดตัวนาฬิกาซานโตส-ดูมงต์ (Santos-Dumont) ที่ได้รับการปรับโฉมและถ่ายทอดสไตล์อันเรียบโก้ของสหายนักบิน ซานโตส-ดูมงต์ ผ่านเรือนเวลาขนาดใหญ่พิเศษ (Santos-Dumont XL) ทั้งหมดสามรูปแบบ และนาฬิกาซานโตส เดอ คาร์เทียร์ รุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นสลักหลังตัวเรือนมีเพียง 30 เรือน บรรจุในกล่องพิเศษ แต่ละเรือนขับเคลื่อนด้วยกลไกไขลาน 430 MC

เรือนเวลา ซานโตส-ดูมงต์ ขนาด XL (Santos-Dumont XL)

นาฬิกาซานโตส-ดูมงต์ รุ่น XL (Santos-Dumont XL) พลิกโฉมจากรุ่นดั้งเดิมทั้งดีไซน์และสัดส่วน ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานของคอลเลคชั่น เส้นสายที่บริสุทธิ์และความงามของกลไกการขับเคลื่อนแบบไขลาน จึงทำให้นาฬิการุ่นนี้เหมาะกับผู้ที่หลงรักในศาสตร์แห่งนาฬิกา

รูปแบบใหม่ของคอลเลคชั่นเรือนเวลาอันเป็นตำนาน ดีไซน์อันเป็นเอกลักษณ์ของนาฬิกาซานโตส-ดูมงต์ (Santos-Dumont) ยังฉายชัดอย่างครบถ้วนในรุ่นขนาดใหญ่พิเศษ หน้าปัดกว้าง เข็มนาฬิกาทรงดาบ เม็ดมะยมที่ประดับด้วยพลอยคาโบชงสีน้ำเงิน แผ่นหน้าปัดสีเงินผิวซาตินลาย Sunray ไปจนถึงตัวเรือนด้านหลังที่สลักตัวย่อ S-D อันเป็นสัญลักษณ์ของนักบินผู้เลื่องชื่อ นามอัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์ (Alberto Santos-Dumont) ผู้เป็นแรงบันดาลใจแห่งการรังสรรค์เรือนเวลาคอลเลคชั่นซานโตส เดอ คาร์เทียร์ (Santos de Cartier)กลไก 430 MC Calibre: ตัวเลือกที่ลงตัวสำหรับผู้ที่หลงไหลในเรือนเวลา เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างฟังก์ชั่นการใช้งานและรูปทรงของนาฬิกาทั้งด้านในและด้านนอก ฝ่ายรังสรรค์เรือนเวลาของคาร์เทียร์เลือกกลไกล 430 MC Calibre ระบบไขลานอันเป็นเลิศ

เรือนเวลาซานโตส-ดูมงต์รุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นมาพร้อมตัวเรือนสลัก

“ก้าวล้ำไปข้างหน้า” อาจจะเป็นคติประจำตัวของอัลแบร์โต้ ซานโตส-ดูมงต์ (Alberto Santos-Dumont) ซึ่งผลักดันให้เขาประดิษฐ์เครื่องบินที่ละเอียดอ่อนและเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะเพื่อความสุขของเขาและตอบสนองต่อการจับตามองของผู้คนในปารีส เครื่องจักรกลที่หลอมรวมความฝันและเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน มนุษย์และท้องฟ้า นี่คือเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านนาฬิกาซานโตส-ดูมงต์ (Santos-Dumont) โฉมใหม่แต่ละเรือนนั้นขับเคลื่อนไปตามจังหวะของกลไกไขลาน 430 MC อีกทั้งยังสลักด้านหลังตัวเรือนเป็นรูปอากาศยานที่ซานโตส-ดูมงต์ออกแบบด้วยตัวของเขาเอง คาร์เทียร์ได้เปิดตัวเรือนเวลาโฉมใหม่นี้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาผ่านเว็บไซต์ของคาร์เทียร์

เรือนเวลาซานโตส-ดูมงต์ เลอเบรซิล (The “Le Bresil” Santos -Dumont)

รุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น 100 เรือน ตัวเรือนแพลตินัม ตัวเลขโรมันทำจากวัสดุขัดเงาสีเมทัลลิก เข็มนาฬิกาทรงดาบและทับทิมประดับที่เม็ดมะยมสำหรับไขลาน พร้อมตัวเลขประจำเรือนเวลา เรือนเวลาสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่การันตีได้จากการหลอมรวมความเป็นเลิศเข้าด้วยกันทั้งตัวเรือนแพลตินัมและทับทิมตกแต่งเม็ดมะยมสำหรับไขลาน ที่ด้านหลังเรือนสลักเป็นรูปเลอ เบรซิล “Le Bresil” อากาศยานที่ซานโตส ดูมงต์สร้างสรรค์ขึ้นในปี 1898 ซึ่งเขาให้คำนิยามมันว่า “ขนาดเล็กที่สุด” และ “สวยที่สุด” บินขึ้นท้องฟ้าต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1898 หลังจากนั้นซีรีส์ของอากาศยานที่เขาประดิษฐ์ก็ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยมา จาก 1 ไป 22 ซึ่งทยอยเปิดตัวในระหว่างปี 1898 จนถึง 1909 สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะท้าทายกฎของแรงโน้มถ่วง

เรือนเวลา ซานโตส-ดูมงต์ ลา บาลาเดิส (The “La Baladeuse” Santos-Dumont)

รุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น 300 เรือน ตัวเรือนเยลโลว์โกลด์ หน้าปัดสีแชมเปญ เม็ดมะยมประดับแซฟไฟร์ เข็มนาฬิการูปทรงดาบสีน้ำเงิน สายหนังอัลลิเกเตอร์สีเขียวอมน้ำตาล พร้อมตัวเลขลำดับของเรือนเวลา ฝาหลังสลักเป็นรูปลา บาลาเดิส “La Baladeuse”หรือ นูเมโรเนิฟ “n?9” เรือบินที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซึ่งซานโตส-ดูมงต์ (Santos-Dumont) ขับเคลื่อนผ่านน่านฟ้าฝรั่งเศสในปี 1903 อากาศยานขนาดเล็กหนึ่งที่นั่ง “ลา บาลาเดิส” ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการเดินทางส่วนตัวของซานโตสผู้มีความประสงค์ให้มันเป็นประโยชน์สำหรับคนจำนวนมากในภายภาคหน้า “จะต้องมีสักวันที่ยานพาหนะทางอากาศนี้สามารถขนส่งนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจระหว่างประเทศได้” คำพูดจากซานโตส-ดูมงต์ (Santos-Dumont) ที่สะท้อนปณิธานอันแน่วแน่ของเขา

เรือนเวลา ซานโตส-ดูมงต์ นูเมโรกั้กโตสบิส (The “n?14 bis” Santos-Dumont)

รุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น 500 เรือนขอบตัวเรือนเยลโลว์โกลด์บนตัวเรือนสตีล หน้าปัดสีเทาเข้ม เม็ดมะยมประดับสปิเนลสีน้ำเงิน เข็มรูปดาบตัวเรือนสตีลเคลือบทอง พร้อมตัวเลขกำกับเรือนเวลา ที่ฝาหลังสลักเป็นรูป “n?14 bis” อากาศยานลำนี้ได้ถูกขนานนามว่า “Kite of Compartments” หรือว่าวที่ประกอบขึ้นจากช่องสี่หลี่ยม นักบินนั้นจะต้องยืนอยู่ในลำตัวเครื่องบินซึ่งเชื่อมต่อกับหางเสือและปีกด้วยสายเคเบิล หลังจากการทดลองบินผ่านความล้มเหลวมาหลายต่อหลายครั้งในที่สุดในวันที่ 23 ตุลาคม 1906 “n?14 bis” นั้นก็ได้รับรางวัล the Archdeacon Cup และหลังจากนั้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน ก็ได้รับรางวัลจาก the Aero-Club อัลแบร์โต้จึงเป็นนักบินคนแรกที่ทำการบินที่ความสูง 220 เมตรได้สำเร็จและได้รับการรับรองจากองค์กรการบิน

เรือนเวลาที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อความภูมิฐานแห่งสุภาพบุรุษ

นาฬิกาซานโตส-ดูมงต์ ลา เดอมัวเซล (The Santos-Dumont “La Demoiselle”) มาพร้อมกล่องไม้เคลือบแล็กเกอร์อันหรูหราและแอคเซสซอรี่อันล้ำค่า ขนาดตัวเรือนใหญ่พิเศษรังสรรค์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความโก้ในแบบสุภาพบุรุษเพียง 30 เรือน ด้านหลังสลักเป็นรูปลา เดอมัวเซล “La Demoiselle” อากาศยานที่มีรูปแบบสง่างามที่สุดของซานโตส นาฬิกาตัวเรือนแพลตินัมประดับทับทิมเจียระไนแบบคาโบชองสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสะท้อนถึงตัวตนของ อัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์ (Alberto Santos-Dumont) ผู้บุกเบิกสไตล์สุภาพบุรุษสุดเนี้ยบ (Dandy) เขามักปรากฎตัวพร้อมหมวกปานามาคู่กายเสมอ คาร์เทียร์อุทิศงานดีไซน์ให้กับสายนาฬิกาพิเศษที่ทำจากหญ้าสานที่ใช้ทำหมวกปานามา และยังนำมาตกแต่งบนหน้าปัดอีกด้วย สี่เหลี่ยมตรงกลางที่โดดเด่นด้วยลายกราฟิกของหญ้าสานบนหน้าปัดสะท้อนถึงหมวกใบโปรดของอัลแบร์โต ซานโตส-ดูมงต์ได้เป็นอย่างดี เลขโรมันหมายเลข 7 ที่ปกติซ่อนโลโก้คาร์เทียร์ไว้ ได้ถูกแทนที่ด้วยอักษรคำว่าซานโตส “SANTOS” อย่างลงตัว

สร้างสรรค์ในปี 1908 ลา เดอมัวเซล “La Demoiselle” คือผลงานการสร้างสรรค์อากาศยานที่สมบูรณ์แบบที่สุดของอัลแบร์โต้ และยังเป็นอากาศยานลำแรกที่ถูกนำมาผลิตเพื่อใช้งานจริง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่อย่างแท้จริง “เราล่องลอยไปในอากาศมองเห็นยุโรปอยู่ใต้เท้าราวกับว่ากำลังมองดูแผนที่ภูมิประเทศที่กางออก ล่องลอยอยู่ระหว่างดวงดาวและผืนดิน”

สาวกของนาฬิกาซานโตส เดอ คาร์เทียร์ สามารถจับจองนาฬิการุ่นใหม่นี้ได้ที่ คาร์เทียร์บูติค สยามพารากอน ดิเอ็มโพเรียมและไอคอนสยาม ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ