โอกาสนี้ รองเลขาธิการ สศก. ในฐานะรองประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร และประธานคณะทำงานการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการจัดทำยุทธศาสตร์ วิชาการ และฐานข้อมูล ได้บรรยายถึงนโยบายและการดำเนินงานด้าน Climate Change ในภาคเกษตรของไทย เริ่มจากกลไกการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับปัจจุบัน) ที่ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ย่อย ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการสร้างความตระหนักรู้ 2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 3) การมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 4) การขับเคลื่อนโดยเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในภาคเกษตร ของ สศก. และหน่วยงานใน กษ. อาทิ การจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์สินค้าเกษตร การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อรายได้ครัวเรือนเกษตร การศึกษาผลการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เกษตรทฤษฎีใหม่) และการศึกษาต้นทุนส่วนเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าเพื่อให้?ปรับตัวได้?ในสภาพแวดล้?อมที่ไม่เหมาะสม การส?งเสริมการไถกลบตอซังเพื่อลดการเผา การจัดทำแบบจำลอง การผลิตพืช (Crop Modeling) เพื่อการจัดการดินและธาตุอาหารพืชการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโดยการจัดการน้ำ ธาตุอาหาร และการใช้พันธุ?ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงโครงการที่ดำเนินงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ โครงการ Supporting the Integration of the Agricultural Sector into the National Adaptation Plans: NAPs-Ag.) ร่วมกับ FAO และ UNDP โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice NAMA) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ)
ทั้งนี้ เป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินงาน ต้องการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกษตรกร สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้พอใช้ ประกอบอาชีพการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ผลผลิตมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด จากการมีความรู้เพียงพอที่จะทำการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตของตนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยทุกภาคส่วนต้องดำเนินงานร่วมกันทั้งระบบ ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ภาครัฐกำหนดนโยบาย/มาตรการ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ภาคเอกชนต้องสนับสนุนปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ภาคการเงินสนับสนุนเงินทุน และเกษตรกรต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน รองเลขาธิการ สศก. กล่าว