วธ.กำชับวัฒนธรรมจังหวัดร่วมดูแลงานโบราณสถาน-โบราณวัตถุกับกรมศิลปากรทั่วประเทศ

พฤหัส ๐๒ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๕:๔๗
นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการประชุมกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการของกระทรวงวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้แผนงาน ๓.๒ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ และประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference ไปยังวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัดว่า ได้มอบหมายให้วัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศศึกษาพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ระเบียบ ข้อบังคับ รวมไปถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้อง จากนั้นนำเสนอสาระสำคัญของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ในที่ประชุมกรมการจังหวัด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดทราบ

ปลัดวธ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมอบให้วัฒนธรรมจังหวัดเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ให้แก่สภาวัฒนธรรมทุกระดับ เครือข่ายทางวัฒนธรรม ศิลปินพื้นบ้าน และประชาชนทั่วไป ผ่านกิจกรรม เวทีหรือการประชุมสัมมนาต่างๆ พร้อมดำเนินการสำรวจ ค้นหา และจัดทำเป็นข้อมูลรายชื่อ โบราณสถานและโบราณวัตถุในพื้นที่ของจังหวัด โดยขอความร่วมมือหน่วยงานในระดับพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่า และต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จากนั้นให้ รายงานผลการดำเนินงานมายัง วธ. อย่างต่อเนื่อง ในโอกาสนี้ให้ร่วมมือกับสำนักศิลปากรในพื้นที่สำรวจจำนวนอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ของจังหวัด มีการอบรมให้ความรู้ อส.มศ. และหากจังหวัดยังไม่มี อส.มศ.ให้วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็น โดยสอบถามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาวัฒนธรรม เครือข่ายทางวัฒนธรรม และประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ให้ปรึกษากับกรมศิลปากร และสำนักศิลปากรในพื้นที่

นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า วัฒนธรรมจังหวัดได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ด้วย โดยมีอำนาจหน้าที่เข้าไปในโบราณสถาน เพื่อตรวจสอบดูว่าได้มีการซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เคลื่อนย้ายโบราณสถาน หรือส่วนต่างๆ ของโบราณสถาน หรือมีการขุดค้นสิ่งใด ๆ หรือปลูกสร้างอาคารในเขตโบราณสถานหรือไม่ และในกรณีที่พบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าวก็สามารถดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษผู้กระทำผิดได้เพื่อเป็นหลักฐานแล้วแจ้งกรมศิลปากรเพื่อมอบหมายสำนักศิลปากรที่รับผิดชอบพื้นที่แจ้งความดำเนินคดีต่อไป เนื่องจากความผิดตามตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ มีโทษทางอาญา และเป็นอาญาแผ่นดินไม่สามารถยอมความได้ ซึ่งในกฎหมายว่าด้วยโบราณสถานฯ จะมีบทกำหนดโทษตามความผิดในลักษณะต่าง ๆ อาทิ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลายทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์หรือทำให้สูญหายซึ่งโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ