กทม.เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำ - บูรณาการความร่วมมือบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

พุธ ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๓๓
นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงกลาโหม กำชับเร่งขับเคลื่อนแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการระบายน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุดว่า สำนักการระบายน้ำ โดยศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม ได้เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครในปี 2563 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศจากเรดาร์ตรวจอากาศตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน ด้วยการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ความยาว 3,240 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 98.75 ขุดลอกคู คลอง ความยาว 91 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 92.22 และเปิดทางน้ำไหล 1,339 คลอง ความยาว 1,543 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 94.99 รวมถึงลดระดับน้ำในท่อระบายน้ำ คลอง และแก้มลิง ให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน เตรียมความพร้อมสถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ และบ่อสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำท่วมขังออกจากพื้นที่ โดยมีสถานีสูบน้ำ 191 แห่ง อุโมงค์ระบายน้ำ 4 แห่ง ประตูระบายน้ำ 242 แห่ง และบ่อสูบน้ำ 306 แห่ง เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ชนิดไฟฟ้าและดีเซลในปี 2563 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำสนับสนุน จำนวน 1,163 เครื่อง ขณะเดียวกันได้ตรวจสอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองประจำที่สถานีสูบน้ำต่าง ๆ ในกรณีระบบไฟฟ้าขัดข้อง และบูรณาการร่วมกับการไฟฟ้านครหลวงในการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันแก้ไขในจุดเสี่ยง พร้อมเจ้าหน้าที่ประจำสถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำทุกแห่ง ตลอดจนร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กองทัพบก ตำรวจ จังหวัดปริมณฑล 6 จังหวัด กรมอาชีวะ และจิตอาสา ในการเตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและช่วยเหลือประชาชน โดยให้ติดตามสถานการณ์ฝนจากเรดาร์กรุงเทพหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน ทันทีในกรณีมีน้ำท่วม

ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในถนนสายหลักด้วยวิธีการดันท่อ (Pipe Jacking) จำนวน 12 โครงการ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ พร้อมใช้งานระบบระบายน้ำ จำนวน 5 โครงการ และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 7 โครงการ รวมทั้งพัฒนาคลองให้มีความสะอาดสวยงาม สามารถใช้เป็นทางสัญจรได้โดยสะดวก สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่รอยต่อกับจังหวัดปริมณฑล ที่มีจุดเสี่ยงน้ำท่วมจำนวน 4 จุด ได้แก่ ถนนพหลโยธิน บริเวณอนุสรณ์สถานและแยกลำลูกกา (กทม./ปทุมธานี) ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณศูนย์ราชการ (กทม./นนทบุรี) ถนนงามวงศ์วานช่วงซอยชินเขต 2 ถึงคลองประปาและหมู่บ้านชินเขต (กทม./ นนทบุรี) และถนนสุขุมวิท บริเวณปากซอยลาซาล ปากซอยแบริ่ง (กทม./สมุทรปราการ) ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ร่วมบริหารจัดการน้ำกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กรมชลประทานและจังหวัดปริมณฑล โดยมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดหลักเกณฑ์บริหารจัดการน้ำร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังจัดการประชุม เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกันอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO