ปูนซีเมนต์นครหลวง หนุนแรงงาน มอบปูนพัฒนาทักษะ

พฤหัส ๐๙ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๑๔
ก.แรงงาน รับมอบปูนซีเมนต์ 100 ตัน หนุนการฝึกอบรมภาคปฏิบัติในงานก่อสร้างเพื่อสาธารณะประโยชน์ จัดส่งตรงทั่วทุกพื้นที่ทั้ง 16 จังหวัด หวังให้แรงงานมีทักษะเพิ่มขึ้น รับวิถีชีวิตใหม่

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนรับมอบผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์จำนวน 100 ตัน มูลค่า 200,000 บาท จากบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติภาคปฏิบัติในงานก่อสร้าง ตามแผนการฝึกของหน่วยงาน เพื่อสร้างสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เช่น วัด โรงเรียน เป็นต้น ซึ่งบริษัทจะจัดส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้แก่หน่วยงานของกพร.จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ตาก น่าน กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา นครพนม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ ระนอง ชุมพร ตรัง และสงขลา

นายธวัช กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สร้างผลกระทบอย่างมากในทุกภาคส่วน ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไปและการทำงาน จนเกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม การใส่หน้ากากไปในที่ชุมชนหรือการใช้ชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ซึ่งแต่ละคนเริ่มคุ้นเคยและจะกลายเป็นสิ่งปกติสำหรับคนในสังคมไทย การฝึกอบรมที่กพร.ดำเนินการก็เช่นกัน หลายหลักสูตรต้องชะลอการฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อให้มีการรวมกลุ่มคนให้น้อยที่สุด แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย กิจกรรมการฝึกเริ่มดำเนินการได้อีกครั้ง ภาคเอกชนที่เป็นภาคีเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงเริ่มทยอยสนับสนุนทั้งงบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์การฝึก เพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จึงเป็นตัวอย่างของภาคเอกชนอีกแห่งหนึ่งที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ในงานก่อสร้าง เพื่อใช้ในการฝึกอบรมของกพร.อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการฝึกทักษะให้แก่แรงงาน ซึ่งทักษะในงานก่อสร้างเป็นทักษะที่จำเป็น และปัจจุบันยังคงมีความต้องการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตำแหน่งช่างฝีมือในงานก่อสร้าง เช่น ช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง เป็นตำแหน่งงานที่ไม่สามารถนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานทดแทนได้ ดังนั้นแรงงานไทยจึงได้รับโอกาสความก้าวหน้าในตำแหน่งงานดังกล่าวสูง ควรต้องพัฒนาทักษะในงานก่อสร้างให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ช่างก่ออิฐ ระดับ 1 จะได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 345 บาท ระดับ 2 ไม่น้อยกว่าวันละ 465 บาท และระดับ 3 ไม่น้อยกว่าวันละ 585 บาท สำหรับช่างฉาบปูน ระดับ 1 จะได้รับอัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 385 บาท ระดับ 2 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 495 และระดับ 3 อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 605 อีกทั้งยังสามารถพลิกผันตัวเองให้ก้าวสู่การเป็นผู้รับเหมางาน ช่วยให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนช่างปูกระเบื้องสามารถรับเหมางานเป็นตารางเมตรมีรายได้ต่อวันถึงวันละ 1,000-2,000 บาท

ในปี 2563 กพร.มีเป้าหมายดำเนินการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานในสาขาช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูนและช่างปูกระเบื้อง จำนวน 3,307 คน ดำเนินการแล้ว 3,177 คน ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4 หรือกองสื่อสารองค์กร 0 2245 4035

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version