อว. ขานรับยุทธศาสตร์ "รวมไทยสร้างชาติ" ระดมมหาวิทยาลัยพัฒนาชุมชน ดันโครงการ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” จ้างงานบัณฑิตตกงาน 3 แสนคนเข้า ครม.

พฤหัส ๐๙ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๕๔
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว.จัดทำ “โครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” หรือ “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เพื่อสนับสนุนการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา จำนวน 3 แสนอัตราพร้อมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการดูแลครอบคลุมทั้งหมด 7,900 ตำบลทั่วประเทศ โดยในระยะแรกครอบคลุม 3,000 ตำบล งบประมาณกว่า 13,500 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเสนอครม.ได้ภายในสัปดาห์หน้า

รมว.อว.กล่าวต่อว่า โครงการนี้ คือ การเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆอย่างบูรณาการในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจนโดยใช้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เรามีมหาวิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎ ราชมงคล เพียงพอที่จะตอบโจทย์ เพราะเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆในพื้นที่ได้ เป็นผู้บูรณาการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดย 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ดูแล นี่คือโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส คือการที่จะทำอย่างไรที่จะใช้พลังมหาวิทยาลัยทั่วประเทศทำเรื่องเศรษฐกิจฐานราก ผ่าน พรก.เงินกู้ 400,000 ล้าน การดำเนินการโครงการนี้จะช่วยสร้างงาน ทั้งบัณฑิต นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ ที่ลงไปทำ การพัฒนาพื้นที่ของตนเอง สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของสถาบันอุดมศึกษารายตำบล ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการชุมชน ด้านการพัฒนาการตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน ด้านการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่นตนเอง และการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนและด้านอื่นๆ โดยมุ่งเน้นในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานชุมชนจากสู่บิ๊กดาต้าเพื่อเจาะลึกถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาในแต่ละท้องที่ เพื่อใช้ในการวางแผนการพัฒนาชุมชนสู่คูวามยั่งยืนต่อไปและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก

“โครงการนี้จะเป็นมิติใหม่ในการทำงาน ภายใตยุทธศาสตร์ “รวมไทยสร้างชาติ” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการสร้างประเทศแบบนิวนอร์มอลซึ่งท่านนายกให้ความสำคัญและความสนใจอย่างมาก เพราะบัณฑิตเป็นทรัพยากรของประเทศ ในการนำพลังศักยภาพบัณฑิตผ่านการจ้างงาน เราจ้างงาน 3 แสนคนในพื้นที่ก่อให้เกิด “บัณฑิตติดถิ่น” เพื่อที่จะรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่น เราจะปลูกฝังแนวความคิดสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน อาทิ ภาษาอังกฤษ ดิจิทัล การเงิน สังคมและด้านอื่นๆ อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดการดำเนินการบูรณาการจะมีการจัดทำระบบการบูรณาการ โครงการต่างๆในอีก 2 ระดับคือ ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 9 ภูมิภาคของ อว. ได้แก่ เครือข่ายภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง จะทำหน้าที่ในการบูรณาการโครงการ ต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการร่วมกัน แบ่งเป็นองค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมถึงการเชื่อมต่อกันในห่วงโซ่คุณค่า ของสินค้าและบริการ เช่นการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การบริโภคสินค้าและบริการ การท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ เป็นต้น” ดร.สุวิทย์ กล่าวและว่า โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย นับเป็นกลไกสำคัญในการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมแก้ชุมชนท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

“ในทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ ผมคิดว่าหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศยังคงต้องดำเนินต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังของเยาวชน ผมมีความเชื่ออยู่เสมอเยาวชนของเรานั้นเป็นผู้กำหนดอนาคตประเทศ เป็นคนขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้า แต่ในขณะนี้เรากำลังอยู่ในยุคนิวนอร์มอลผมเชื่อว่าสิ่งสำคัญหลังโลกโควิด 19 คือ การสร้างความเข้มแข็งจากภายในก่อนเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ด้วยการใช้ เศรษฐกิจฐานราก เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยจึงเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ” ดร.สุวิทย์

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยว่า “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เป็นโครงการที่ อว. ได้เสนอของบประมาณใน พรก.เงินกู้ 400,000 ล้าน โดยเบื้องต้นจะดำเนินการใน 3,000 ตำบล และขยายไปให้ครบ 7,900 ตำบลในอนาคต ภายใต้โครงการนี้ จะมอบหมายให้มหาวิทยาลัย เข้าไปดูแลแต่ละตำบลแบบองค์รวม โดยการนำองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปช่วยทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน คุณภาพชีวิต และสุขภาวะของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation) โดย 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัย ในพื้นที่ทำหน้าที่ดูแลอย่างเป็นระบบและบูรณาการ (System Integrator)นอกจากเป็นการพัฒนาพื้นที่แบบองค์รวมอย่างเป็นระบบแล้ว ภายใต้โครงการนี้ยังจะมีการจ้างงานทั้งบัณฑิต นักศึกษา และประชาชนเพื่อเข้าไปช่วยงานในการพัฒนา ตำบลละไม่น้อยกว่า 20 คน โดยผู้ที่ได้รับการจ้างงานยังจะได้รับการพัฒนาทักษะ และองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและต่อยอดไปสู่ธุรกิจได้

โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยนี้ ถึงแม้ว่า เป็นโครงการที่ใช้ งบประมาณเงินกู้ 1 ปี แต่ อว. ได้วางรากฐานการพัฒนาในรูปแบบนี้ เพื่อการดำเนินการในระยะยาว เพื่อปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย ให้เป็น มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และใช้โจทย์จากพื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย
๐๙:๑๘ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัด Pitching day การเขียนโฆษณา และ การเล่าเรื่องผ่านแคมเปญ
๐๙:๔๔ รมว.เอกนัฏ โชว์ ดีพร้อม หนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ในงาน ShowPow ต้อนรับปีใหม่ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น
๐๙:๓๒ กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล)
๐๙:๐๘ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ภายใต้โครงการ อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย