พล.อ.ประวิตร เร่งรัดขุดลอกบึงสีไฟ-ฟื้นแม่น้ำพิจิตร พร้อมรับน้ำหลาก

พุธ ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๐๘
รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ จ.พิจิตร เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟและโครงการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ณ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร โดยมีนายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปภาพรวมการพัฒนาฟื้นฟูบึงสีไฟและแม่น้ำพิจิตร และนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า สรุปความก้าวหน้าผลการดำเนินงานขุดลอกบึงสีไฟ บริเวณอุทยานบัว บึงสีไฟ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การลงพื้นที่บึงสีไฟครั้งนี้เพื่อติดตามเร่งรัดการการขุดลอกบึงสีไฟเพื่อเพิ่มปริมาณความจุรองรับน้ำฝน ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำเดิมให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น โดยกรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพหลักดำเนินการขุดลอกบึงไฟ แบ่งเป็น 2 ระยะ ซึ่งจะส่งผลให้บึงสีไฟสามารถเก็บกักน้ำได้ทั้งสิ้น 12 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยระยะที่ 1 แล้วเสร็จตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 มีปริมาณมูลดินที่ได้จากการขุดลอก ประมาณ 4.7 ล้านลูกบาศก์เมตร คงเหลือส่วนระยะที่ 2 ที่ต้องขุดลอกดินอีกประมาณ 7 แสน ลบ.ม. ได้กำชับให้มีการเร่งรัดการดำเนินการขุดลอก การขนย้ายและการจำหน่ายวัสดุขุดลอกทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ รวมถึงการลำเลียงน้ำเข้าสู่บึงสีไฟซึ่งกรมชลประทานคาดว่าจะมีปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นสามารถดึงน้ำเข้าบึงได้ประมาณ 15 ส.ค.63 เป็นต้นไป โดยมีเป้าหมายการเก็บกักน้ำไม่น้อยกว่า 80% ของความจุ

อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาบึงสีไฟทั้งระยะสั้นในการขุดลอกให้แล้วเสร็จตามแผน พร้อมเคลื่อนย้ายกองดินที่ได้ทำการขุดลอกแล้วทั้งหมดประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม.ออกจากพื้นที่ ซึ่งกรมเจ้าท่าร่วมกับจังหวัดพิจิตรวางแนวทางขนย้ายดินทั้งส่วนที่ขายทอดตลาดได้ และส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของส่วนราชการโดยไม่ขัดต่อระเบียบหรือกฎหมาย รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ของบึง เพื่อให้บึงสีไฟเป็นพื้นที่แก้มลิงรับน้ำในพื้นที่ เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสาธารณประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ ส่วนแผนการพัฒนาบึงสีไฟในอนาคตได้มอบหมายให้ สทนช.ประสานจังหวัดพิจิตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางกรอบแนวจัดทำแผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูและใช้ประโยชน์บึงสีไฟทั้งระบบ (Master Plan) เช่นเดียวกับการบูรณาการแผนพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่น บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ บึงราชนก จ.พิษณุโลก และหนองหาร จ.สกลนคร เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาบึงเกิดความต่อเนื่องทั้งหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณรองรับในแต่ละด้านอย่างชัดเจน อาทิ การขุดลอกบึงเพื่อเพิ่มปริมาณความจุเก็บกักให้ได้มากขึ้น การพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมภายในบึง การใช้ประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น รวมถึงติดตามแผนงานโครงการฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรในการเร่งรัดฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตร แก้ไขปัญหาแม่น้ำตื้นเขิน สิ่งกีดขวางทางน้ำ และการเติมน้ำแม่น้ำพิจิตรด้วย

ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความพร้อมในการนำน้ำเข้าบึงสีไฟขณะนี้กรมชลประทานเตรียมแผนดำเนินการเรียบร้อยแล้ว หากมีปริมาณในตกในพื้นที่เพิ่มขึ้นสามารถใช้บึงสีไฟช่วยชะลอน้ำโดยนำน้ำเข้าบึงได้ทันที จากเดิมก่อนแผนขุดลอกบึงขนาดความจุเพียง 4 ล้าน ลบ.ม. แต่เมื่อกรมเจ้าท่าดำเนินการขุดลอกจะช่วยเพิ่มความจุน้ำอีกประมาณ 8 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งสิ้น 12 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสทนช.จะเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนหลักในการพัฒนาบึงสีไฟในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนื้ให้ได้มากขึ้น.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO