การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตสะท้อนถึงความท้าทายของสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระ ทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส โดยฟิทช์ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทย (GDP) จะหดตัวลง 5.5% ในปี 2563 ด้วยภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว ฟิทช์คาดว่า (ในกรณีฐาน หรือ base case) การเก็บชำระหนี้และ EBITDA (รายได้ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย) ของ BAM จะได้รับผลกระทบเชิงลบในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกในด้านระดับหนี้สิน (leverage) ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว โดยสะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อ EBITDA (debts/EBITDA) ที่สูงขึ้นเป็นประมาณ 13.7 เท่า (เฉลี่ยต่อปี หรือ annualised) ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2563 เทียบกับช่วงระดับ 8-9 เท่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แม้ฟิทช์จะคาดว่าผลการดำเนินงานของ BAM อาจปรับตัวดีขึ้นในปี 2564 แต่บริษัทยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับลดอัตราส่วนหนี้สินดังกล่าวให้ลดลงต่ำกว่าระดับ 10 เท่า ภายในปี 2564
การยกเลิกอันดับเครดิตภายในประเทศเนื่องจากเหตุผลทางธุรกิจ
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
แม้ว่าความเสี่ยงของบริษัทอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ BAM เป็นผลมาจากการที่ฟิทช์ประเมินว่าโครงสร้างเครดิตโดยรวมของบริษัทยังคงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการประกาศอันดับเครดิตครั้งก่อนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งดูได้จาก www.fitchratings.com/site/pr/10110857
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ไม่มีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตในอนาคต เนื่องจากอันดับเครดิตของบริษัทได้ถูกยกเลิกแล้ว
รายละเอียดทั้งหมดของอันดับเครดิตมีดังต่อไปนี้:
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่'BBB+(tha)’ ปรับเป็น แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ จาก แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และยกเลิกอันดับเครดิตอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ 'F2(tha)’ และยกเลิกอันดับเครดิตอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันคงอันดับที่ 'BBB+(tha)’ และยกเลิกอันดับเครดิต