มูลนิธิซิตี้ จับมือคีนัน และ พอช. เผยความสำเร็จ“โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน”

พฤหัส ๑๖ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๐๓
มูลนิธิซิตี้ จับมือคีนัน และ พอช. เผยความสำเร็จ “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน”

มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เผยความสำเร็จการดำเนินโครงการ “พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน” หลังสร้างผู้นำชุมชนให้มีความรู้เรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคล และสามารถให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่สมาชิกชุมชน พร้อมทั้งต่อยอดให้สามารถเขียนข้อเสนอโครงการและบริหารโครงการด้านการเงินที่ออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสมาชิกชุมชนให้มีศักยภาพทางการเงินและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มร. ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ในฐานะตัวแทนจากมูลนิธิซิตี้ เปิดเผยว่า “จากข้อมูลแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าประมาณ 5.84 ล้านครัวเรือน จากจำนวน 21 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศไทย เป็นผู้มีรายได้น้อยและไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของตัวเอง ซึ่งพบว่าปัญหาหลักด้านการเงิน คือ การขาดความรู้เรื่องการบริหารจัดการทางการเงิน ทำให้สมาชิกชุมชนประสบกับปัญหารายจ่ายสูงกว่ารายรับและมีภาระหนี้สิน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สมาชิกในชุมชนดังกล่าวต้องได้รับความรู้ด้านการเงิน ตั้งแต่การวางแผนการเงินในระดับครัวเรือน อาทิ การจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน การลดรายจ่าย การออมเงิน การเพิ่มรายได้ ไปจนถึงการมีผู้นำชุมชนที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกและเป็นที่ปรึกษาทางการเงินชุมชน เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงินของสมาชิกชุมชนให้มีวินัยการเงินและกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในระยะยาว”

“มูลนิธิซิตี้ มีพันธกิจในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลก มูลนิธิฯ ได้จับมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ในการริเริ่มโครงการ “พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน” ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างเสริมความรู้และวินัยทางการเงินที่ดีในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่านการให้ความรู้ด้านการบริหารการเงินส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมเรื่องการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน การบริหารค่าใช้จ่ายในครัวเรือน การออมเงิน และการบริหารจัดการหนี้สิน สำหรับสมาชิกและผู้นำชุมชนกว่า 49 ชุมชนในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โครงการฯ ดังกล่าว ได้ดำเนินงานต่อเนื่องจนครบ 3 ปีครึ่ง และได้บรรลุวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาชุมชนเป้าหมายให้สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายทางการเงินระยะยาวได้สำเร็จ ทั้งยังได้สร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ทั้งชุมชน หน่วยงานธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในการเผยแพร่ความรู้เรื่องทางการเงินไปยังเครือข่ายชุมชนอื่น ๆ ให้มีความมั่นคงทางการเงิน”

“สำหรับโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน ปีที่ 3 มูลนิธิซิตี้ได้ร่วมมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย จัดกิจกรรมการประกวดโครงการทางด้านการเงินชุมชนขึ้น โดยให้ผู้นำชุมชนมีโอกาสได้นำเสนอแนวคิดและที่มาที่ไปของโครงการฯ รวมทั้งวัตถุประสงค์ แผนการดำเนินกิจกรรม ตัวชี้วัด และผลที่คาดว่าจะได้รับ จากโครงการฯ โดยคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงการที่มีความโดดเด่นจำนวน 17 โครงการ เพื่อมอบงบประมาณสนับสนุน 30,000 บาทต่อโครงการ ในการจัดทำโครงการให้เกิดขึ้นจริงในชุมชน และคัดเลือก 6 โครงการต้นแบบ เพื่อมอบงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมอีกจำนวน 390,000 บาท เพื่อนำไปใช้ในการขยายผลไปสู่สมาชิกในชุมชนเพิ่มเติม” มร. ทีบอร์ พานดิ กล่าว ด้านนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้ร่วมกับมูลนิธิซิตี้ และ พอช. ดำเนินโครงการ “พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน” มาเป็นระยะเวลา 3 ปีครึ่ง โดยมีผู้นำชุมชนจำนวน 226 คน และสมาชิกชุมชนจำนวน 2,032 คน จาก 49 ชุมชน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี และฉะเชิงเทรา ได้เข้าร่วมการอบรมเรื่องการบริหารจัดการการเงินกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ซึ่งผลความสำเร็จโครงการฯ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านการเงินที่ดีขึ้น โดยผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ทางการเงินเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 23% ซึ่งวัดผลจากแบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม และสมาชิกชุมชนกว่า 90% มีการออมอย่างสม่ำเสมอ และกว่า 57% มีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเป็นประจำ ตามลำดับ” “หลังจากการดำเนินงานโครงการฯ ในปีที่ 1 และ 2 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจให้แก่สมาชิกและผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล ปลูกฝังนิสัยการออม การใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือน รวมถึงการสร้างผู้นำชุมชนให้สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่และขยายผลให้กับสมาชิกในชุมชนต่อได้ ในปีที่ 3 ทางมูลนิธิซิตี้และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย จึงได้ยกระดับการดำเนินงานไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนให้มีความรู้ด้านการพัฒนาและบริหารโครงการในการสร้างอาชีพและต่อยอดความรู้ทางด้านการเงินภายในชุมชนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินของแต่ละชุมชนได้อย่างแท้จริง ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ที่ช่วยสร้างรายได้ในครัวเรือน ลดภาระหนี้สิน และเพิ่มเงินออมให้แก่สมาชิกชุมชน”

“ตัวอย่างชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการ “พัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน ปีที่ 3” ได้แก่ สหกรณ์เคหสถานบ่อฝรั่งริมน้ำพัฒนา จำกัด หรือ ชุมชนบ่อฝรั่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ 5 ชุมชนรอบบึงบางซื่อมาอาศัยอยู่ร่วมกันบนที่ดินขนาด 8 ไร่ และมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 250 ครัวเรือน ซึ่งนอกจากผู้นำและสมาชิกชุมชนจะได้รับการอบรมเรื่องการบริหารจัดการการเงินแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังได้จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การสร้างแบรนด์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเล่าเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน และการตลาดออนไลน์ จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ออร์แกนิกแบรนด์บ้านบ่อฝรั่ง ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกในชุมชนนำออกไปจำหน่ายในวงกว้าง พร้อมกับมีแผนที่จะวางจำหน่ายผ่านทางช่องทางออนไลน์ในราคาที่ถูกกว่าสินค้าทั่วไปในท้องตลาด ผลจากการดำเนินโครงการสร้างอาชีพและการบริหารการเงินส่วนบุคคลทำให้สมาชิกในชุมชนนี้มีการออมเงินเพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 56% เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการฯ”

“มูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเชื่อมั่นว่า ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิซิตี้และพอช. การดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินตลอด 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จะสามารถช่วยบรรเทาภาวะหนี้ครัวเรือนให้กับหลายชุมชนได้ แต่ยังสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินที่ดีให้แก่สมาชิกชุมชน ให้รู้จักเก็บออม สร้างอาชีพของตัวเอง และหยุดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการใช้จ่ายเกินตัว ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การพนัน หรือการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังมีส่วนทำให้สมาชิกในหลายชุมชนหันมาเห็นคุณค่าและศักยภาพในตนเอง เคารพตัวเอง และมีความหวังในชีวิตมากยิ่งขึ้น ซึ่งภายหลังจากจบโครงการ ผู้นำชุมชนยังคงนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องให้แก่สมาชิกในชุมชนของตนเองและชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งนำไปใช้ในการสร้างแผนพัฒนาชุมชนของตัวเอง ให้เกิดเป็นระเบียบปฏิบัติและกติกาภายในสังคมของชุมชนต่อไป อีกทั้ง พอช. ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนชุมชนในการสร้างที่อยู่อาศัยและมีเครือข่ายชุมชนภายใต้การดูแลอยู่ทั่วประเทศกว่า 1,658 ชุมชน สามารถนำโมเดลการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของมูลนิธิซิตี้และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียไปต่อยอดและขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป” นายปิยะบุตร กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี
๑๔:๓๙ MOSHI ผู้นำธุรกิจค้าปลีกไลฟ์สไตล์รายใหญ่ของไทย ทุบสถิติไตรมาส 4 โชว์ SSSG พุ่งทะยานกว่า 20% รับความสำเร็จกลยุทธ์ Collaboration Project ตลอดปี 2567 มั่นใจกวาดรายได้ทะลุเป้าโต
๑๔:๒๑ Zentry เตรียมเปิดตัว Ragnarok Landverse บน Ronin เกม MMORPG ระดับตำนานที่มีผู้เล่นกว่า 100 ล้านคน เตรียมเปิดตัวในไตรมาสแรกของปี
๑๔:๔๕ การประชุมข้าวยั่งยืนระดับโลกเรียกร้องสู่การเปลี่ยนแปลงวงการข้าว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๑๔:๓๔ LPN คาดอสังหาฯ EEC ส่งสัญญาณบวกรับดีมานด์นักลงทุนจีนขยายฐานการผลิตชลบุรี-ระยอง ดัน EARN Condo by LPN รับอานิสงส์ปล่อยเช่า Yield ดีสูงสุด
๑๔:๕๐ โอเพ่นสเปซ กองทุนชั้นนำระดับภูมิภาค พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพไทย เดินหน้าเพิ่มการลงทุนร่วมเสริมแกร่งอนาคตเทคโนโลยีไทย
๑๔:๓๘ เอเชี่ยน เคมิคัล ฝึกซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินสารคลอรีนรั่วไหล ประจำปี 2567
๑๓:๒๗ กสิกรไทยสำรองเงินสด 35,900 ล้านบาท รับเทศกาลปีใหม่