TISCO แจ้งผลการดำเนินงานงวดครึ่งปี 2563

จันทร์ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๕๘
กลุ่มทิสโก้เผยผลประกอบการงวดครึ่งปี 2563 กำไรสุทธิ 2,819 ล้านบาท ลดลง 20.1% ผลพวง COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจติดลบ ประเมินช่วงที่เหลือของปีนี้ความท้าทายยังสูง แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ

นายสุทัศน์ เรืองมานะมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ (Mr. Suthas Ruangmanamongkol, Group Chief Executive) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก จากการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก เพราะนอกจากจะกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับประเทศไทยเศรษฐกิจยังคงหดตัวสูง แม้การควบคุมโรคภายในประเทศจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังไม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบให้การดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ปรับตัวลดลง 20.1% หรือมีกำไรสุทธิ 2,819 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิในช่วงไตรมาส 2/2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลง 25.8% หรือมีกำไรสุทธิ 1,333 ล้านบาท

“ปีนี้เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับทุกคน สิ่งที่ทิสโก้ให้ความสำคัญมาตลอด คือการบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านคุณภาพหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งทิสโก้จะติดตามดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดผ่านมาตรการต่างๆ ใน “โครงการบรรเทา” เช่น การยืดระยะเวลาการชำระหนี้ การพักชำระเงินต้น การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น จนกว่าลูกค้าจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ซึ่งยอมรับว่ายังต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า ทิสโก้ได้ทยอยตั้งสำรองหนี้อย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ไตรมาสแรกที่ผ่านมา จึงมั่นใจว่าจะสามารถบริหารจัดการและผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้” นายสุทัศน์ กล่าว

สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจภายใต้ “ภาวะปกติใหม่ (New Normal)” กลุ่มทิสโก้ยังคงดำเนินการอย่างระมัดระวังเสมอ แม้จะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปีนี้จะมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ปัจจัยเสี่ยงด้านลบยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก อาทิ ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกสอง สถานการณ์ภัยแล้ง และเสถียรภาพการเมืองในประเทศ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะหดตัวลงมาก อย่างไรก็ตาม หากมองไปในระยะข้างหน้ากลุ่มธุรกิจที่ประเมินว่าจะมีโอกาสกลับมาเติบโตได้ดี ยังคงเป็นธุรกิจจำนำทะเบียนรถยนต์ โดยเฉพาะผ่านช่องทาง “สมหวัง เงินสั่งได้” และสินเชื่อธุรกิจที่ต้องการสภาพคล่อง ยังคงเห็นศักยภาพในการเติบโตอีกมาก

สรุปผลประกอบการงานงวดไตรมาส 2/2563 และงวดครึ่งปี 2563

ผลการดำเนินงานของกลุ่มทิสโก้สำหรับไตรมาส 2 ปี 2563 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 1,333 ล้านบาท ลดลง 25.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2562 จากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและปัญหาการชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยรายได้รวมหดตัว 6.2% โดยมีสาเหตุมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่อ่อนตัวลง โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จากการชะลอตัวของรายได้ธุรกิจนายหน้าประกันภัย และค่าธรรมเนียมจากเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นไปตามปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ลดลงจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หดตัว ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวดีขึ้น จากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงในภาวะดอกเบี้ยขาลง สำหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Expected Credit Loss – ECL) ยังคงอยู่ในระดับสูง เป็นไปตามระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การตั้งสำรองมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากการตั้งสำรองไปแล้วล่วงหน้าในไตรมาสก่อนหน้า

ผลการดำเนินงานงวดครึ่งปี 2563 กำไรสุทธิมีจำนวน 2,819 ล้านบาท ลดลง 20.1% เมื่อเทียบกับครึ่งปี 2562 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวดีขึ้นจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี รายได้ค่าธรรมเนียมของธุรกิจที่เกี่ยวกับตลาดทุนปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น และการออกกองทุนที่เพิ่มขึ้นในสภาวะที่ตลาดทุนผันผวน ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 14.9%

สำหรับเงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มทิสโก้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีจำนวน 228,165 ล้านบาท ลดลง 4.1% จากไตรมาสก่อนหน้า จากการชะลอตัวของสินเชื่อรายย่อยและสินเชื่อ SME ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับการใช้นโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังและเข้มงวดมากขึ้นในภาวะความเสี่ยงที่สูงขึ้น ในส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.28% ทั้งนี้ บริษัทมีระดับเงินสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) อยู่ที่ 155%

ธนาคารทิสโก้ยังคงรักษาระดับฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่งมาโดยตลอดทั้งปี โดยมีประมาณการอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ 21.9% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำ 11.0% ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีอัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่ 17.6% และ 4.3% ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version