พฤกษาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและชุมชน เชิญชวนเปลี่ยน “ขยะ” เป็น “โอกาสเพื่อสังคม”

จันทร์ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๔๓
นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “พฤกษาดำเนินงานควบคู่กับการอนุรักษ์และคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการผลิตมาโดยตลอด เพราะหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของบริษัทฯในการดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) คือการ ใส่ใจ..เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Heart to Earth ดังจะเห็นจากตัวอย่างที่โรงงานพฤกษาพรีคาสท์ซึ่งเป็น Green Factory แห่งแรกของไทยที่ใช้ระบบ Concrete Recycling โดยนำน้ำทิ้งและเศษคอนกรีตจากการทำงานมาแยกหินทราย เพื่อกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตอีกครั้ง ทำให้ไม่มีเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการผลิต รวมทั้งโรงผสมคอนกรีต (Batching Plant) ที่เป็นระบบปิดทำให้ไม่เกิดฝุ่นฟุ้งกระจายจึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ในฐานะนักพัฒนาที่ดินที่มุ่งสร้างที่อยู่อาศัยในสังคมที่ดีเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตคนไทยตามพันธกิจ (Mission) ขององค์กร พฤกษาจึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้คนในชุมชน ดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างใส่ใจและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เราเล็งเห็นปัญหาขยะของประเทศไทยที่มีปริมาณสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นทุกปี จากข้อมูลรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2563 พบว่าไทยมีปริมาณการเกิดขยะรวมกันทั้งประเทศ 27.93 ล้านตันต่อปี ในขณะที่มีการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ได้ 9.76 ล้านตัน (คิดเป็นร้อยละ 35) ดังนั้นหากเราสามารถเพิ่มสัดส่วนการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาการจัดการขยะและการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้

พฤกษาจึงได้ริเริ่มโครงการ “เปลี่ยน “ขยะ” เป็น “โอกาสเพื่อสังคม” หรือ “Recycle for Better Life” ซึ่งเป็นโครงการทิ่เชิญชวนลูกบ้านและชุมชนใกล้เคียงร่วมบริจาคขยะเพื่อนำกลับมารีไซเคิลใหม่ ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการส่งมอบต่อให้ยังผู้ที่ต้องการหรือขาดแคลน นำร่องโครงการแรกที่ บ้านพฤกษา 111 รังสิต-บางพูน 2 ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยราว 1,600 คน โครงการนี้รับบริจาคขยะ 3 ประเภท เพื่อต่อยอดและนำกลับมาสร้างประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการใช้งานจริง เป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่ค่าให้กลายเป็นสิ่งทำประโยชน์อีกครั้ง ได้แก่ (1) ขวดพลาสติก โดยขวดพลาสติกที่ได้รับบริจาคนี้ จะนำไปรีไซเคิลเป็นจีวรสำหรับพระสงฆ์ (ขวดพลาสติกจำนวน 15 ขวดสามารถนำไปรีไซเคิลเป็นจีวรสำหรับพระสงฆ์ได้ 1 ผืน) (2) พลาสติก ห่อบรรจุภัณฑ์ (ที่ยืดได้) สามารถนำมารีไซเคิลเป็นบล็อคปูถนน เพื่อมอบให้กับวัด โรงเรียน และองค์กรสาธารณะ โดยจะต้องนำไปเข้ากระบวนการ Recycle Plastic อัดผลิตเป็นแผ่นอิฐ ซึ่งถุงพลาสติกจำนวน 4,000 ใบ สามารถนำมาแปรรูปเป็นบล็อกปูถนนรีไซเคิลได้ 1 ตร.ม. นอกจากช่วยลดปัญหาการกำจัดขยะพลาสติกได้แล้วยังสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย (3) กล่องนมและกล่องเครื่องดื่ม สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นหลังคาเขียว ซึ่งหลังคานี้สามารถนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย และผู้ที่ขาดแคลน โดยคาดหวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของคนไทยพร้อมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เริ่มจากการแยกขยะในบ้าน เพื่อนำขยะเหล่านั้นไปต่อยอดและสร้างประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ