โควิด-19 กระตุ้นบริษัทในเอเชียเล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล

พุธ ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๒๕
การปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล คือสิ่งจำเป็น ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไปธุรกิจในเอเชียเชื่อว่าการรู้จักผู้จัดหาให้กับซัพพลายเออร์ของพวกเขาถือเป็นข้อดี

ผลการสำรวจล่าสุดของธนาคารเอชเอสบีซีในหัวข้อ HSBC Navigator: Building Back Better ซึ่งสอบถามความเห็นขององค์กรธุรกิจกว่า 1,400 แห่งในเอเชีย เปิดเผยว่า โควิด-19 ทำให้บริษัทต่าง ๆ ทั่วเอเชียต้องปรับตัวเพื่อความยืดหยุ่นทางธุรกิจอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล (Digitisation)

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกผลักดันให้ธุรกิจต้องทบทวนวิธีการเพิ่มความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ให้กับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของพวกเขา วิกฤตการณ์โควิด-19 เผยให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทาน และองค์กรธุรกิจหลายแห่งกำลังปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการสต็อกสินค้าจากเดิมที่ใช้กลยุทธ์การผลิตแบบทันเวลา หรือ Just in Time ไปสู่กลยุทธ์ Just in Case หรือการจัดเก็บและกักตุนสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การระบาดใหญ่ครั้งนี้ทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุดที่นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ Great Depression ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ทีมงานของ Navigator ได้พูดคุยกับองค์กรธุรกิจกว่า 1,400 รายจาก 7 ประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย การสำรวจพบว่า บริษัทในเอเชียรู้สึกเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทในเอเชียระบุว่าพวกเขามีการเตรียมความพร้อมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีความพร้อมมากกว่าบริษัทในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งการเตรียมความพร้อมที่ดีกว่านี้จะช่วยให้บริษัทในเอเชียสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงเมื่อวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งนี้คลี่คลายลง

ความรู้สึกเตรียมพร้อม

มีการเตรียมความพร้อมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

เอเชีย 55% ภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก 38%

นายสจ๊วต เทต ผู้อำนวยการบริหาร ธุรกิจพาณิชย์ธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจในเอเชียต่างตระหนักถึงประโยชน์ของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป ในอดีตที่ผ่านมา บางบริษัทยังลังเลที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ จนกระทั่งโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปฏิรูปกระบวนต่าง ๆ สู่ระบบดิจิทัลสามารถสร้างความยืดหยุ่นและช่วยป้องกันแรงกระทบจากปัจจัยภายนอกได้”

ก้าวสู่ดิจิทัล

เมื่อพูดถึงรูปแบบการทำงานในอนาคต องค์กรธุรกิจในเอเชียมีความเชื่อมั่นมากกว่าองค์กรธุรกิจในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกว่าการปฏิรูปกระบวนการทำธุรกรรมทางการค้าและการชำระเงินสู่ระบบดิจิทัลจะกลายเป็นมาตรฐานทั่วไปของการดำเนินธุรกิจในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งในส่วนนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีเองก็ได้เป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น บล็อกเชน (Blockchain) และ เอพีไอ (API) ในการปฏิรูปกระบวนการทำธุรกรรมทางการค้าและการชำระเงินสู่ระบบดิจิทัล

ลำดับความสำคัญการพัฒนาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า

การปฏิรูปกระบวนการทำธุรกรรมทางการค้าสู่ระบบดิจิทัล เอเชีย 40% ภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก 22% การปฏิรูปกระบวนการชำระเงินสู่ระบบดิจิทัล เอเชีย 38% ภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก 25%

การทบทวนเรื่องห่วงโซ่อุปทาน

นอกเหนือจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์ของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลแล้ว โควิด-19 ยังแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานขององค์กรธุรกิจอีกด้วย จากผลสำรวจพบว่า 54% ขององค์กรธุรกิจในเอเชียกล่าวว่าพวกเขาจะเพิ่มความโปร่งใสและความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับให้กับห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา ในขณะที่กว่า 1 ใน 3 ขององค์กรธุรกิจในเอเชียกล่าวว่าพวกเขาจะดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะสามารถเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน

เพิ่มความโปร่งใสและความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับ เอเชีย 54% ภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก 22%ดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน เอเชีย 37% ภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก 25%

นายเทต ให้ความคิดเห็นว่า “ในขณะที่ธนาคารต่าง ๆ อาจบอกคุณว่าการรู้จักลูกค้าและลูกค้าของลูกค้าของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญ การสำรวจล่าสุดของเราบอกเราว่า บริษัทต่าง ๆ เริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของการรู้จักซัพพลายเออร์ รวมถึงผู้จัดหาให้กับซัพพลายเออร์ของพวกเขา”

ความยืดหยุ่น และอุปสรรคต่อความยืดหยุ่น

เมื่อให้อธิบายถึงองค์กรธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น บริษัทในเอเชียกล่าวว่าคุณลักษณะ 3 อันดับแรกที่องค์กรธุรกิจต้องมี ได้แก่ ความคล่องตัว (agile) การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer-centric) และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ส่วนในแง่ของอุปสรรคสำคัญต่อความยืดหยุ่น บริษัทในเอเชียได้กล่าวถึงปัจจัยทางการเงิน เช่น การมีกระแสเงินสดที่เพียงพอ และการจัดการต้นทุนของเงินทุนหมุนเวียน

นายเทต กล่าวสรุปว่า “โควิด-19 ถือเป็นวิกฤตการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันได้ตั้งตัวในรอบศตวรรษสำหรับหลายบริษัททั่วเอเชีย ความยืดหยุ่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความอยู่รอด หากบริษัทต้องการที่จะอยู่รอดและเจริญเติบโต บริษัทจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับรูปแบบการทำงานให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น หรือการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทาน”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

วรนันท์ สุทธปรีดา โทร. 02 614-4609 อีเมลล์ [email protected]

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:

รายงานวิจัย หัวข้อ Navigator: Building Back Better ของธนาคารเอชเอสบีซี เป็นรายงานที่ธนาคารฯ มอบหมายให้ Kantar เป็นผู้ดำเนินการวิจัย โดยสำรวจความคิดเห็นองค์กรธุรกิจกว่า 2,604 แห่ง ใน 14 ตลาดหลักทั่วโลก ประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา จีนแผ่นดินใหญ่ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาใช่ช่วงวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2563

ธุรกิจพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี

กว่า 150 ปีแล้วที่เอชเอสบีซีได้ดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีศักยภาพและโอกาสเติบโต และเชื่อมโยงให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจ ปัจจุบัน ธุรกิจพาณิชย์ธนกิจของธนาคารเอชเอสบีซี ให้บริการลูกค้าราว 1.4 ล้านคนใน 53 ตลาด ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กที่มุ่งเติบโตในประเทศเป็นหลักไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินกิจการข้ามประเทศ เอชเอสบีซีพร้อมมอบเครื่องมือทางการเงินและความชำนาญไม่ว่าจะเป็นเงินทุนหมุนเวียน เงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา สินเชื่อเพื่อการค้า หรือบริการจัดการด้านการเงินและบริหารสภาพคล่อง ซึ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตของธุรกิจ ทั้งนี้ จุดแข็งสำคัญที่สุดของกลุ่มเอชเอสบีซี นั่นคือ เราพร้อมช่วยเหลือลูกค้าให้เข้าถึงโอกาสทางธุรกิจผ่านเครือข่ายสาขาทั่วโลกที่ครอบคลุมเกือบร้อยละ 90 ของกระแสการค้าและเงินทุนของโลก ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.hsbc.com/about-hsbc/structure-and-network/commercial-banking

เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

เอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มเอชเอสบีซี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กลุ่มเอชเอสบีซีให้บริการลูกค้าทั่วโลกด้วยเครือข่ายสาขาใน 64 ประเทศและเขตปกครองทั้งในยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอชเอสบีซี เป็นสถาบันผู้ให้บริการด้านการเงินและการธนาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีสินทรัพย์รวม 2,918 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ เครือเฮอริเทจ คว้ารางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยและบุคลากรดีเด่นประจำปี 2567 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
๑๑:๒๘ สคร. 12 สงขลา แนะ ยึดหลัก สุก ร้อน สะอาด ป้องกัน เชื้อ โนโรไวรัส
๑๑:๓๔ ส่องหาปูนิ่ม ด้วย AI นวัตกรรมเพื่อผู้ผลิตปูนิ่ม
๑๑:๑๖ กรุงไทย-สยามโกลบอลเฮ้าส์ ยกระดับการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเชื่อมโยง ESG และเงินฝากสีเขียว ตอบโจทย์องค์กรยั่งยืน
๑๑:๒๐ ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 2567 กำไร 48,598 ล้านบาท
๑๑:๕๙ ยอดขายทะลุเป้าสูงสุด 7.4 เท่า! สำหรับยอดขายวันแรกของ HONOR X9c Series พร้อมขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจ
๑๑:๕๙ 22 ม.ค.นี้ พบกับมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่ไม่ควรพลาด PARADISE PARK KHON THE THEATER กับ การแสดงเบิกโรงเทวนิยาย ชุด ท้าวเวสสุวัณ @พาราไดซ์
๑๑:๐๐ เสาร์ 25 ม.ค. 2568 ปักหมุดอิ่มอร่อย มื้อนี้ K เลย ลดทั้งบิล 50%* กับบัตรเครดิตวีซ่ากสิกรไทย 27 ร้านดังที่สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์
๑๑:๐๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดงบกว่า 15.5 ล้านบาท ฟื้นฟูหลังน้ำลดผู้ประสบอุทกภัย แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค มอบเงินช่วยเหลือกรณีบ้านพังทั้งหลัง และช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิต 8
๑๐:๒๘ มทร.ธัญบุรี กางแผนรับนักศึกษาใหม่ ปี 68 กว่า 6 พันคน