การท่าเรือบังคับเอกชนเข้าใช้บริการท่าเรือชายฝั่งแห่งใหม่ กระทบต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นปีละกว่า 200 ล้าน

พฤหัส ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๑๓
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดห้องประชุมรับฟังปัญหาผลกระทบ จากประกาศของห้องประชุมรับฟังปัญหาผลกระทบจากประกาศของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเรื่องการเปิดใช้ท่าเทียบเรือชายฝั่ง(ท่าเทียบเรือA) จากกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าทางเรือชายฝั่ง

ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดห้องประชุม รับฟังปัญหา และผลกระทบจากกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าทางเรือชายฝั่ง ที่ได้รับ ผลกระทบจากประกาศของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่มีคำสั่งให้เรือชายฝั่งที่จะดำเนินการบรรทุกสินค้า ลงเรือสำหรับท่าเรือแหลมฉบังต้องดำเนินการบรรทุกสินค้า ณ ท่าเรือ ชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) เท่านั้น

โดยตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าทางเรือชายฝั่งให้เหตุผลที่ขอเข้าพบท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในครั้งนี้ว่า “ประกาศให้เรือชายฝั่งที่จะดำเนินการบรรทุกสินค้าลงเรือสำหรับท่าเรือแหลมฉบังต้องดำเนินการบรรทุกสินค้า ณ ท่าเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) เท่านั้น ถือเป็น

ประกาศที่จะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจผู้ประกอบการและประชาชนเป็นอย่างมาก ยิ่งสถานการณ์ที่เศรษฐกิจ กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) การออกประกาศดังกล่าว อาจจะเป็นการซ้ำเติมและเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบและประชาชน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจย่ำแย่ลงไปอีก อีกทั้งยังขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ ของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการสนับสนุน การขนส่งทางน้ำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการขนส่ง และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหาร จัดการต้นทุน การขนส่งและค่าใช้จ่ายในการ ขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันของผู้ประกอบการไทย จึงเห็นควรให้มีการศึกษา ผลกระทบและแนวทางในการบริหารจัดการ เพื่อความเหมาะสมร่วมทุกฝ่ายก่อนการประกาศใช้”

และยังกล่าวต่อไปว่าจากประกาศดังกล่าวจะส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งตู้สินค้าโดยรวมสูงขึ้น เมื่อเทียบกับการเข้าดำเนินการ ณ ท่าเรือสากลโดยตรงทางกลุ่มผู้ประกอบการ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง คาดว่าผลกระทบดังกล่าวคิดเป็นมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจเนื่องจากสถิติมีปริมาณสินค้านำเข้า ที่ขนส่งทางเรือชายฝั่งมากกว่า 200,000 ตู้ต่อปี ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะกลายเป็นภาระต่อผู้นำเข้าสินค้าในการผลิตและขยายเป็นวงกว้างต่อประชาชน และอาจจะส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางน้ำโดยเรือชายฝั่ง ไปใช้การขนส่งทางบก โดยอาจส่งผลให้มีรถบรรทุก ตู้สินค้าทางถนนเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 เที่ยวต่อปีทำให้การจราจรทางถนนหนาแน่นขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนน นักท่องเที่ยว และความปลอดภัย ในการจราจร อีกทั้งอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพผิวถนนที่ชำรุดเสียหายจากปริมาณความหนาแน่นของ รถบรรทุกที่สัญจรผ่านเส้นทางดังกล่าว และเป็นภาระของภาครัฐ จะต้องจัดสรร งบประมาณ มาซ่อมแซมถนนเพิ่มขึ้นด้วย”

ทางกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งผ่านเรือชายฝั่งเล็งเห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ ประชาชน และ ศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการของไทยิในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) ด้วยจึงทำจดหมายเพื่อขอเข้าปรึกษารัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อขอความอนุเคราะห์ให้ เลื่อนการบังคับใช้ประกาศดังกล่าวออกไปก่อน และช่วยพิจารณาทบทวนประกาศดังกล่าว ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ให้เข้าหารือ และชี้แจง ข้อมูล เพิ่มเติมในวันนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม