UN เผย โควิด-19 กระทบความมั่นคงอาหาร หารือทุกฝ่าย ถกสถานการณ์ แก้ปัญหาโภชนาการโลก

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๙
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยการประชุมแถลงรายงานสถานการณ์ความมั่นคงอาหารและโภชนาการโลก (The State of Food Security and Nutrition in the World: SOFI) ประจำปี 2563 ซึ่ง สศก. ได้ร่วมประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีนายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วย ประธานสภามนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ประธานคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก (CFS) ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงโรม (FAO/IFAD/WFP) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประธานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) ผู้อำนวยการใหญ่โครงการอาหารโลก (WFP) ผู้อำนวยการใหญ่ UNICEF และผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ WHO ได้ร่วมกันกล่าวถ้อยแถลง "รายงานสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการโลก ประจำปี 2563" ผ่านระบบออนไลน์

จากรายงานของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO พบว่าปัจจุบันโลกผลิตอาหารได้เพียงพอกับจำนวนประชากรโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าถึงอาหารได้ โดยตั้งแต่ปี 2557 มีผู้หิวโหยมีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ล้านคน/ปี นอกจากนี้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจส่งผลให้เพิ่มปริมาณคนขาดสารอาหารมากถึง 83 - 132 ล้านคน ในปี 2563 และประชากรมากกว่า 3 พันล้านคนในโลก ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ เนื่องจากมีราคาแพงมากกว่าอาหารปกติถึง 5 เท่า จึงอาจส่งผลให้โลกมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs เพื่อยุติความหิวโหยได้ภายในปี 2573

ดังนั้น นายแม็กซิโม โตเรโร ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ FAO รายงานว่า จำเป็นต้องมี การกำหนดนโยบายที่ปรับเปลี่ยนระบบของอาหาร ด้วยการลดต้นทุนของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ (healthy diets) หาซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม อาทิ นโยบายหลักประกันโภชนาการที่ดี การสร้างแรงจูงใจในการลงทุนด้านการโภชนาการที่ดี นโยบายส่งเสริมประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต นโยบายที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค การส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ทำให้สุขภาพดีและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เพราะการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะสามารถช่วยลดต้นทุนแฝงทางสังคมได้โดยเฉพาะต้นทุนด้านสุขภาพ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ “ระบบอาหารที่ยั่งยืนและที่สามารถปรับตัวได้” (Sustainable and Resilient Food Systems) สู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ตามที่กำหนดไว้

โอกาสนี้ ประธานคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก หรือ CFS (นายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต ฝ่ายเกษตร) ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานของ CFS ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ทุกภาคส่วน ได้แก่ แนวทางปฏิบัติเชิงนโยบายด้านระบบอาหารและโภชนาการ และนโยบายด้านเกษตรเชิงนิเวศและนวัตกรรม ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณารับรองในการประชุม CFS 47 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นอกจากนี้ CFS ยังได้มีการจัดทำแนวทางปฏิบัติการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และรายงานการสร้างความมั่นคงอาหารและโภชนาการระดับโลก มุ่งสู่เป้าหมายปี 2030 เพื่อเสนอกรอบแนวคิดที่ส่งเสริมระบบอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืนรวมถึงแนวทางแก้ปัญหา โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสามารถผลักดันได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายความมั่นคงอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของ สศก. ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหาร นำเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ ในการพัฒนาระบบการจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด (Provincial Crop Calendar) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนพัฒนาการผลิตและบริหารจัดการอาหารให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่วิกฤต รวมถึงการแพร่ระบาด COVID-19 ในปัจจุบันด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero