ดีอีเอส โชว์เคสนโยบายด้านดิจิทัลของไทยรับมือโควิด-19 ร่วมเวที WSIS Forum 2020

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๓๑
ดีอีเอส เข้าร่วมการประชุม World Summit on the Information Society Forum (WSIS) 2020 ได้รับเชิญให้ขึ้นเวทีนำเสนอโชว์เคสนโยบายด้านดิจิทัลที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต่อผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิก ITU

นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่าได้รับมอบหมายจาก นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เข้าร่วมประชุมระดับโลก World Summit on the Information Society Forum (WSIS) 2020 ซึ่งปีนี้สภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จัดการประชุมจัดในรูปแบบออนไลน์ แทนการประชุมในรูปแบบปกติที่สำนักงานใหญ่ ITU

ทั้งนี้ WSIS Forum เป็นการประชุมระดับโลกในกรอบสหประชาชาติสำหรับผู้มีพันธกิจเกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการพัฒนา และเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมถึงการกำหนดแนวทางการพัฒนาและสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน

“สำหรับปีนี้ทาง ITU ได้เชิญให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม WSIS High-level Policy Sessions ในหัวข้อ “Inclusiveness-access to information and knowledge for all” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 63 โดยจะมีผู้แทนระดับสูงที่มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน ของประเทศสมาชิก ITU และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ประธานกรรมการหน่วยงานกำกับดูแลจากโปรตุเกส ประธานสภาหอการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น” นายเนวินธุ์กล่าว

หัวข้อหลักของการประชุม WSIS Forum 2020 ปีนี้ คือ “Fostering digital transformation and global partnerships : WSIS Action Lines for achieving SDGs” โดยกิจกรรมของ WSIS จะประกอบด้วย การประชุมระดับรัฐมนตรี กิจกรรม High-level และ พิธีมอบรางวัล WSIS PRIZE 2020

สำหรับหัวข้อที่ดีอีเอส นำเสนอบนเวทีนี้ จะเน้นบทบาทการทำงานของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ของทุกภาคส่วน ซึ่งไทยให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยการดำเนินการผ่านโครงการที่เป็นรูปธรรม คือ โครงการ “เน็ตประชารัฐ” ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดรางวัล WSIS Prize 2019 ประเภทโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารและสารสนเทศ และต่อยอดไปสู่โครงการ “เน็ตอาสาประชารัฐ” ที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับสำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตในการสนับสนุนบริการอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพและในราคาที่เข้าถึงได้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤติและลดผลกระทบจาก COVID-19 เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงฟรี โทรฟรี 100 นาที บริการอินเทอร์เน็ตบ้านฟรี ๓ เดือน เป็นต้น และเป็นการสนับสนุนโยบายการทำงานที่บ้าน (WFH) ของรัฐบาล เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-fake news center) ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการรับข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ที่ถูกต้องเป็นจริง ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ทั้งนี้ ไทยให้ความสำคัญกับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการต่อสู้กับ COVID-19 และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับ ประเทศสมาชิก และ ITU ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ แนวปฏิบัติที่ดี และความพยายามในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs ไปด้วยกัน นายเนวินธุ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ