IBERD จับมือ CIBA DPU จัดเวที วิเคราะห์ จีน-ไทยได้ประโยชน์อะไรจาก “หยวนดิจิทัล”

พุธ ๒๙ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๑๑
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERDF) ร่วมกับวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี(CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU จัดกิจกรรม IBERD Virtual Live Business and Economic Conference ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ: นวัตกรรมธุรกิจการเงิน และเงินหยวนดิจิทัล โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน และอดีตอัคราชฑูตฝ่ายการพาณิชย์ปักกิ่ง และเซี้ยงไฮ้ เป็นแขกรับเชิญ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัย CIBA เป็นผู้ดำเนินรายการ

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร กล่าวว่า เมื่อ 5 ปีก่อนประเทศจีนเริ่มพัฒนาการชำระเงินในระบบดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟน โดยใช้แพลตฟอร์มของสองบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่อย่างอาลีบาบาและเทนเซ็นต์ จากนั้นโลกก็เริ่มหันมาสนใจสกุลเงินดิจิทัล(Cryptocurrency) และพูดกันอย่างหนาหูถึงความเป็นไปได้ในการออกสกุลเงินดังกล่าวมาใช้แทนเงินสด จีนซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ได้ตั้งสกุลเงินดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลโดยธนาคารกลางของประเทศจีน พร้อมระดมผู้เชี่ยวชาญด้านเงินดิจิทัลมาทำการวิจัยศึกษาและพัฒนาระบบการชำระเงิน จนในที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จีนได้ประกาศใช้เงินหยวนดิจิทัล Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือ Electronic Payment(DCEP) อย่างเป็นทางการ โดยทดลองใช้ใน 4 หัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เซินเจิ้น ซูโจว เฉิงตู และสวงอาน แม้ช่วงนั้นเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่จีนกลับมองว่าห้วงเวลาดังกล่าวเหมาะแก่การทดลองใช้มาก เพราะปัจจัยนี้สามารถดึงดูดให้คนหันมาใช้เงินดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ทั่วโลกจับตามอง

ดร.ไพจิตร กล่าวต่อว่า เงินหยวนดิจิทัล เป็นเงินสกุลเดิม ทำอย่างถูกกฎหมายและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน หากผลักดันให้ใช้ในระดับประเทศ GDP ของจีนจะก้าวกระโดดตาม และในระยะยาวอาจเป็นเงินสกุลสากลที่มีผู้นิยมใช้จำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามทุกอย่างยังอยู่ในขั้นทดลอง แม้ผู้นำแดนมังกรได้ตั้งธงไว้ว่าจะขยายการทดลองร่วมกับประเทศพันธมิตรในสองโอกาสสำคัญ คือ การแข่งขันโอลิมปิกในปี 2022 และอภิมหาโปรเจคเส้นทางสายไหม (Silk Road) หากจีนได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงระบบการเงินของโลกในอนาคต แม้แต่ธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศจะสะดวกรวดเร็วขึ้น ที่สำคัญไม่เสียค่าธรรมเนียมด้วย

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัย CIBA กล่าวเสริมว่า ในขณะที่จีนออกเงินหยวนดิจิทัลมาทดลองใช้แล้ว ในส่วนประเทศไทยนั้น เมื่อเร็วๆนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เดินหน้าทดลองใช้เงินบาทดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ผ่านโครงการพัฒนาระบบต้นแบบการชำระเงิน (Central Bank Digital Currency: CBDC) ต่อยอดมาจากโครงการอินทนนท์ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วย และเริ่มทดลองโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ในอนาคตเราอาจเห็นการใช้เงินดิจิทัลร่วมกันระหว่างไทย-จีน เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศมีความเชื่อมโยงในหลายๆ ด้าน ทั้งภาคเศรษฐกิจ และภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามแม้จีนจะล้ำหน้าไทยไปไกลหลายก้าว แต่คนไทยก็ต้องปรับตัวเตรียมรับมือเทคโนโลยีใหม่ การออกเงินดิจิทัลอาจมีข้อดีหลายด้าน เนื่องจากธุรกิจการเงินมีผลเชื่อมโยงต่อภาคส่วนอื่นๆด้วย ไทยจึงต้องเรียนรู้จากจีนในหลายประเด็น อาทิ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงเชิงรุก การเรียนรู้สิ่งใหม่ เป็นต้น ดังนั้น ไม่ควรใช้กรอบแนวคิดเดิม เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ