เผยประกันรายได้มันฯ-ข้าวโพด ปี 2 เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๕๖
เกษตรฯ เผยที่ประชุม นบมส. และ นบขพ. เห็นชอบโครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 ใช้หลักเกณฑ์เดิม เคาะราคามันสำปะหลังที่ กก.ละ 2.50 บาท ไม่เกิน 100 ตันต่อครัวเรือน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ กก.ละ 8.50 บาท ไม่เกิน 30 ไร่ต่อครัวเรือน เงื่อนไขขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) และคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ได้เห็นชอบโครงการประกันรายได้สินค้า 2 ชนิด คือ มันสำปะหลัง ประกันรายได้ที่หัวมันสำปะหลังสด เชื้อแป้ง 25% ในพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 100 ตัน

ทั้งนี้ เกษตรกรที่มีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนต่างดังกล่าว ต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลังกับกรมส่งเสริมการเกษตร หลังจากปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว 15 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2563 – 31 มี.ค.2564 เป็นเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังด้วยตนเอง และกรรมสิทธิ์เป็นของเกษตรกร แจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยวกับกรมฯ นับจากวันที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.2563 – 30 พ.ย.2564 ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกวันที่ 1 ของเดือน ระยะเวลา 12 เดือน สำหรับการจ่ายเงินส่วนต่างงวดแรก ครอบคลุมเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งเพาะปลูก ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2563 ระบุวันคาดว่าเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 1 ธ.ค.2563 สำหรับการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดสุดท้าย ครอบคลุมเกษตรกรที่ระบุวันที่คาดว่าเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรการคู่ขนาน 4 มาตรการ ประกอบด้วย 1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง และ 4) บริหารจัดการการนำเข้าส่งออก ขณะเดียวกันยังได้เห็นชอบการขอขยายพื้นที่ดำเนินโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากมีแนวโน้มการแพร่ระบาดไปยังหลายพื้นที่ จากพื้นที่ดำเนินโครงการ 11 จังหวัด ปัจจุบันเพิ่มเป็น 22 จังหวัด

สำหรับโครงการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2563/64 กำหนดราคาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ความชื้น 14.5% เท่ากับปีที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 8.50 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ และไม่ซ้ำแปลง เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยแจ้งเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2563 - 31 พ.ค.2564 และสามารถขึ้นทะเบียนได้แปลงละ 1 ครั้งเท่านั้นในรอบการผลิตดังกล่าว ระยะเวลาชดเชยส่วนต่างวันที่ 20 พ.ย.2563 – 31 ต.ค.2564 โดยมีมาตรการคู่ขนาน 6 มาตรการ คือ 1) สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2563/64 2) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 3) มาตรการกำหนดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับผู้นำเข้าทั่วไป 4) กำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 ต่อ 3 5) การดูแลความเป็นธรรมในการซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้แสดงราคา ณ จุดรับซื้อที่ความชื้น 14.5% และ 30% และ 6) การดูแลความสมดุล ให้แจ้งปริมาณการครอบครอง การนำเข้า สถานที่เก็บ การตรวจสอบสต็อก เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ