วธ.ร่วมมือกับเครือข่ายศิลปิน จัด “งานวัฒนธรรม ร่วมใจ รวมไทย สร้างชาติ” ฟื้นฟูหลังโควิด-19 สร้างงาน สร้างรายได้ และให้ความบันเทิงประชาชนทั่วประเทศ เริ่มเดือนกันยายนนี้

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๑๑
นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานประชุมหารือเพื่อกำหนดรูปแบบแนวทางการจัดงานมหกรรมวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ โดยมีนายประสพ เรียงเงิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้บริหาร วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้แทนจากสมาคมศิลปะการแสดงในเครือข่ายของกระทรวงวัฒนธรรม อาทิ สมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางประเทศไทย สมาพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทย สมาคมอุปราคมจีน สมาคมกลองและศิลปะล้านนา สมาคมลิเกประเทศไทย สมาคมหมอลำอีสาน สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อเร็วๆนี้

ปลัด วธ. กล่าวว่า ขอขอบคุณและชื่นชมที่กลุ่มศิลปินต่างๆ ทุกภูมิภาค แม้ช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ศิลปินก็ตกอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่มีการจ้างงาน ขาดรายได้เช่นกัน ก็ยังให้ความร่วมมือกับทางรัฐบาลและ วธ. ในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านเนื้อหาเพลงทุกภูมิภาคทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อขณะนี้สถานการณ์คลี่คลาย ทางนโยบายรัฐบาลให้มีการผ่อนคลาย วธ. จึงมีแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเครือข่ายศิลปินทั่วประเทศ โดย วธ.ร่วมมือกับสมาคมศิลปะการแสดงในเครือข่ายทุกภูมิภาค จัดงานมหกรรมวัฒนธรรม ภายใต้ชื่องานวัฒนธรรม ร่วมใจ รวมไทย สร้างชาติ เน้นเปิดเวทีให้ศิลปินทุกแขนงมาจัดแสดง เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา เศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทย

โดยการช่วยเหลือเยียวยาแบ่งเป็น 3 ระยะที่ 1.จัดส่วนกลางที่ลานวัฒนธรรม วธ. ช่วงเดือนกันยายน 2563 เปิดเวทีให้ศิลปินทุกภูมิภาคมาร่วมจัดแสดงให้ประชาชนได้รับฟัง ระยะที่ 2. จัดงานตามภูมิภาคต่างๆ อาทิ จังหวัดสุราษฎร์ธานี น่าน ยโสธร ชลบุรี เป็นต้น โดยให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป้าหมายเร่งหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงความพร้อมและรูปแบบการจัดงานให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของจังหวัดนั้นๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ศิลปิน และให้ความบันเทิงเยียวยาประชาชน ระยะที่ 3.ให้ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจัดทำแผนดำเนินการโครงการกิจกรรมเพื่อขอรับการเยียวยาฟื้นฟูในระยะยาวภายใต้งบประมาณ 4 แสนล้านบาทของรัฐบาล ทั้งนี้การทำงานร่วมกันทั้ง 3 ระยะ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง วธ. และศิลปินไปด้วยกัน แบบช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เป็นเจ้าภาพร่วมกันโดยต้องเน้นความปลอดภัย เว้นระยะห่าง มีระบบป้องกันโควิด-19 ตามที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนด

“สำหรับการเยียวยาศิลปินและเครือข่ายทางวัฒนธรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบ กระทรวงวัฒนธรรมได้สำรวจข้อมูลและเสนอต่อรัฐบาลให้มีการเยียวยาศิลปินและเครือข่ายทางวัฒนธรรมแล้ว เพื่อให้ได้รับเงินเยียวยาให้มากที่สุด ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้แทนสมาคมศิลปินต่างๆ ก็ได้รับคำตอบว่าศิลปินได้รับการเยียวยาตามมาตรการต่างๆ เช่น ผู้ประกอบการอาชีพอิสระประกันสังคมหรือครัวเรือนเกษตรกรหรือกลุ่มอื่นๆ ที่รัฐบาลได้มีการเยียวยาไปแล้ว ส่วนกรณีผู้ที่ยังไม่ได้รับการเยียวยากระทรวงวัฒนธรรมได้ประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเยียวยาดังกล่าวต่อไป”ปลัด วธ. กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ