ททท. ร่วมกับ วีซ่า ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยสู่วิถีนิวนอร์มอล ขยายช่องทางการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอล

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๒๒
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ วีซ่า ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย โดยให้การชำระค่าสินค้าและบริการแบบไร้การสัมผัสด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Payment สอดรับการท่องเที่ยวแบบวิถีใหม่ (New Normal) ในการขยายจุดรับการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลในกรุงเทพมหานครและ 5 จังหวัดเมืองท่องเที่ยวหลักทั่วประเทศ ความร่วมมือกันในครั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยด้านการชำระเงินและสุขอนามัยของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

ภายใต้ความร่วมมือกันในครั้งนี้ ททท. จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ วีซ่า และสถาบันการเงิน โดยการสร้างการรับรู้โครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) และช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มจุดรับการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอล โดยผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนเครื่องรับชำระเงินให้มาเป็นเครื่องที่สามารถรองรับการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลส อย่างบัตรคอนแทคเลส สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์สวมใส่ต่าง ๆ ได้

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า “เราได้จัดทำโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท. กระทรวงสาธารณสุข และพันธมิตรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวระดับโลก ภายใต้ 'ชีวิตวิถีใหม่’ นักท่องเที่ยวชาวไทยจะได้สัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น อาทิ การชำระเงินแบบไร้การสัมผัส (Contactless Payments) สำหรับการซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น”

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การท่องเที่ยวเป็นอีกแรงสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นที่จะช่วยสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถปรับตัว ฟื้นฟู และเติบโตต่อไปได้ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 สิ้นสุดลง เรารู้สึกยินดีที่ได้นำเทคโนโลยี ผสานกับประสบการณ์และเครือข่ายของเรามาใช้เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมกับช่วยให้ประเทศสามารถปรับตัวเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอลได้”

จากผลการสำรวจฉบับล่าสุดของวีซ่า เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและรูปแบบการชำระเงินยุคนิวนอร์มอลในประเทศไทย[1]แสดงให้เห็นว่าสามในห้าของคนไทย (61 เปอร์เซ็นต์) มีพฤติกรรมการชำระเงินแบบไร้เงินสด และเลือกที่จะชำระเงินผ่านบัตรหรือแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากกว่าเงินสด นอกจากนี้เกือบเจ็ดในสิบของผู้บริโภคชาวไทยกล่าวว่าพวกเขาจะเปลี่ยนวิธีการชำระเงินจากเงินสดเป็นการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หลังจากเหตุการณ์ในปัจจุบันสิ้นสุดลง

โดยในช่วงแรกจะมีการขยายจุดรับชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสไปยังผู้ประกอบการย่านถนนสุขุมวิทและจะขยายไปยัง 5 จังหวัด เมืองท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี (พัทยา) สุราษฎร์ธานี (สมุย) และประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) ภายในสิ้นปี 2563 พร้อมทั้งสนับสนุนและผลักดันให้ร้านค้าพันธมิตรที่รับชำระเงินด้วยบัตรวีซ่าในประเทศไทยซึ่งมีอยู่กว่า 400,000 ร้านค้า สมัครเข้าร่วมรับการประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version