ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ต้อนรับ บมจ. ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SICT) เริ่มซื้อขาย 30 ก.ค. นี้

อังคาร ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๓๒
บมจ. ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี ผู้ออกแบบ วิจัย พัฒนา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์วงจรรวม หรือไมโครชิพ RFID อย่างเต็มรูปแบบเป็นรายแรกของไทยและรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 30 ก.ค. นี้ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 552 ล้านบาท โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “SICT”

นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ยินดีต้อนรับ บมจ. ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน mai ภายใต้กลุ่มเทคโนโลยี โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “SICT” ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2563

SICT ประกอบธุรกิจออกแบบ วิจัยและพัฒนาวงจรรวม (Integrated Circuit Design) หรือไมโครชิพ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์ระบบระบุข้อมูลของวัตถุที่ขึ้นทะเบียนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) และว่าจ้างผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า “SIC” ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา สินค้าของบริษัทแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ไมโครชิพสำหรับระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ (Immobilizer) 2. ไมโครชิพสำหรับระบบลงทะเบียนสัตว์ (Animal Tag) 3. ไมโครชิพสำหรับระบบเข้า-ออกสถานที่ (Access Control) และระบบการอ่านข้อมูล (Interrogator) และ 4. สินค้าและบริการอื่น ๆ เช่น ไมโครชิพสำหรับระบบฉลากอัจฉริยะ (Smart Label) ไมโครชิพสำหรับตรวจวัดค่าเซ็นเซอร์ต่าง ๆ (Smart Sensor) รวมถึงการให้บริการหรือจำหน่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

SICT มีทุนชำระแล้ว 200 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 300 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 100 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 21–23 กรกฎาคม 2563 โดยแบ่งเป็น เสนอขายต่อบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ไม่เกิน 75 ล้านหุ้น กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทไม่เกิน 20.35 ล้านหุ้น และผู้มีอุปการะคุณของบริษัทไม่เกิน 4.65 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1.38 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 138 ล้านบาท และมีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 552 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 14.66 เท่า โดยคำนวณจากผลประกอบการของบริษัทในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา (1 เมษายน 2562-31 มีนาคม 2563) เท่ากับ 37.66 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.09 บาท โดยมีบริษัท ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และ บล. ไอร่า เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

นายมานพ ธรรมสิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี (SICT) เปิดเผยว่า บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยประสบการณ์กว่า 17 ปี มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาไมโครชิพสำหรับระบบ RFID ที่มีประสิทธิภาพ บริษัทเป็นผู้ประกอบการไทยรายแรกและรายเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกอบธุรกิจหลักด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวมเต็มรูปแบบ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคู่ค้า โดยสินค้าของบริษัทได้รับการยอมรับและส่งออกเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าในระบบ RFID ชั้นนำ

ทั่วโลก การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทมีเงินทุนที่แข็งแกร่งโดยบริษัทจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในเครื่องมือ อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ และทดสอบไมโครชิพ รวมถึงลงทุนทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร ลงทุนหรือร่วมลงทุนในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจด้านการออกแบบ และพัฒนาวงจรรวม หรือมีนวัตกรรมที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจของบริษัท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ

SICT มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลัง IPO 3 อันดับแรก ได้แก่ นายมานพ ธรรมสิริอนันต์ ถือหุ้น 29.54% นายอภิเนตร อูนากูล ถือหุ้น 16.67% และกลุ่มนายนัยวุฒิ วงษ์โคเมท ถือหุ้น 10.93% บริษัทมีนโยบายจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิ ภายหลังจากหักเงินทุนสำรองต่าง ๆ ตามกฎหมาย

รายละเอียดจากหนังสือชี้ชวนของบริษัทที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th และข้อมูลทั่วไปของบริษัทที่ www.sic.co.th และ www.set.or.th

“SET…Make it Work for Everyone”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ