เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ที่งานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2020 ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ 8 อาคาร ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นำโดย ดร. ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมฯ จัดพิธีลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือกับ 11 องค์กร ในการร่วมพัฒนาโมเดลการใช้งานสถานีอัดประจุไฟฟ้าข้ามเครือข่าย หรือ Charging Consortium โดยทางสมาคมได้ร่วมมือกับ องค์กรต่างๆ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด บริษัท จีแอลที กรีน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จำกัด และ บริษัท เดอะ ฟิฟท์ อีลีเม้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ในปัจจุบันมีแนวโน้มการขับขี่ รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากสถิติของกรมการขนส่งทางบก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. พ.ศ. 2563) ระบุจำนวน จดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าสะสม BEV จำนวน 4,301 คัน และ HEV/PHEV จำนวน 167,767 คัน ส่วนสถานีอัดประจุไฟฟ้า มีจำนวน หัวจ่ายไฟฟ้ารวมกว่า 1,854 หัวจ่าย
(นายกฤษฎา อุตตโมทย์ อุปนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ด้านการส่งเสริมการใช้ )
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ อุปนายกสมาคมฯ ด้านการส่งเสริมการใช้ เผยว่า “ทางสมาคมฯ อยากเห็นผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอิน -ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ยี่ห้อต่างๆ หรือผู้ที่วางแผนอยากปรับเปลี่ยนมาใช้ รถยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษ เกิดความมั่นใจในการเข้าถึงสถานีชาร์จไฟฟ้าที่กระจายตัวอยู่ในที่สาธารณะได้มากขึ้น ภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ข้อในการร่วมมือกันพัฒนาระบบการเชื่อมต่อการใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้าข้ามเครือข่าย กับทางภาครัฐและภาคเอกชน หรือที่เรียก ชื่อโครงการนี้ว่า Charging Consortium ได้แก่หนึ่ง-เพื่อให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ รวมไปถึงการมีระบบการ ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน สอง-เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางในความร่วมมือ ให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า สามารถใช้เครื่องมือ เช่น บัตร หรือ QR code โปรแกรม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายฯ โดยไม่จำกัดเฉพาะของเครือข่ายฯ ใดเครือข่ายฯหนึ่งเท่านั้น สาม-เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินค่าบริการจาก ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการต่างเครือข่ายฯ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่ายให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้ อย่างเป็นธรรมผ่านบริการแอปพลิเคชันของสมาชิกในกลุ่ม Charging Consortium ซึ่งในเรื่องนี้ทางสมาคมฯขอขอบคุณ คณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีมติเห็นชอบแนวทางการ กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า โดยใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตลอดทั้งวัน มีค่าเท่ากับอัตราค่า พลังงานไฟฟ้า ช่วงเวลา Off Peak ของผู้ใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 2.6369 บาทต่อหน่วย (สำหรับแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 22 kV) ตามเงื่อนไข การบริหารจัดการแบบ Low Priority เพื่อให้สามารถควบคุมการใช้ไฟฟ้าของสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ เมื่อมีข้อจำกัดด้านความจุ ไฟฟ้าของระบบจำหน่ายไฟฟ้า และเพื่อป้องกันไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่นในภาพรวม”
(นายสรรเพชญ ตั้งเสาวภาคย์ กรรมการและประธานกลุ่ม WG3 สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย)
นายสรรเพชญ ตั้งเสาวภาคย์ กรรมการและประธานกลุ่ม WG3 สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ประจำสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า“ ทางสมาคมฯ ได้จัดทำให้มีตราสัญลักษณ์ Charging Consortium ที่เป็นสัญลักษณ์ร่วมของกลุ่มพันธมิตรผู้ให้บริการ ตามสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั่วประเทศกว่า 100 สถานี โดยจะเริ่มมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของสถานีอัดประจุไฟฟ้าข้ามเครือข่ายใน ระยะแรก (พ.ศ.2563-2564) ที่มุ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันค่ายรถยนต์บางยี่ห้อผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ออกมาแต่ยังไม่มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะเป็นของตนเอง การมีสัญลักษณ์ Charging Consortium จะทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์ ไฟฟ้าจากทุกค่ายเกิดความมั่นใจในการเข้าถึงการชาร์จไฟฟ้าในที่สาธารณะได้สะดวกมากขึ้น โดยไม่ว่าผู้ขับขี่ต้องการจะจอดชาร์จ ไฟฟ้าที่ใด ผู้ขับขี่ก็จะสามารถชาร์จไฟฟ้าได้ทันที ไม่ขึ้นกับว่าผู้ใช้งานจะเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถานีนั้นอยู่เดิมหรือไม่ นอกจาก นี้ทางสมาคมฯ ยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรด้านยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ตัวอย่างเช่น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่ง เอเชียแปซิฟิก (Electric Vehicle Association of Asia Pacific หรือ EVAAP) สมาคมยานยนต์ไฟฟ้ามาเลเซีย (Electric Vehicle Association of Malaysia หรือ EVAM) สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าฟิลิปปินส์ (Electric Vehicle Association of Philippines หรือ EVAP) เป็นต้น ซึ่งในอนาคต สมาคมฯ มีแผนที่จะใช้โมเดลดังกล่าวตามโปรโตคอลการสื่อสารสากลนี้ เพื่อเชื่อมต่อระบบเข้ากับผู้ให้ บริการสถานีชาร์จในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ขับขี่จากทุกประเทศที่ต้องการจะขับรถยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาดเดินทางไปในประเทศในกลุ่มอาเซียนเหล่านี้ได้เช่นกัน”
หลังจากที่มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ระหว่างสมาคมฯ กับองค์กรพันธมิตร ทางสมาคมฯจะเริ่มหารือกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในด้านระบบการชำระเงิน เพื่อทำให้สามารถรับชำระเงินได้ระหว่างเครือข่าย ซึ่งคาดการณ์ว่าโมเดลการใช้งานสถานีอัด ประจุไฟฟ้าข้ามเครือข่ายดัง กล่าวนี้จะแล้วเสร็จ และพร้อมทดลองใช้งานภายในปี 2563 นี้
เกี่ยวกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand)
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเป็นสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยแนวทางของสมาคมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อบังคับ มาตรฐานและการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ในปัจจุบันสมาคมมี ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ทำหน้าที่นายกสมาคมฯ และ มี สมาชิกที่มา จากภาคเอกชน สถาบันศึกษา รัฐวิสาหกิจ และบุคคลทั่วไป รวมทั้งสิ้น มากกว่า 234 รายโดยทางสมาคมมีการกำหนดการจัดการประชุม ในทุกๆเดือนและมีการแบ่ง คณะทำงานในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้า ไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ที่