ค่าความดันสำคัญอย่างไร

อังคาร ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๓๕
"โรคความดันโลหิตสูง" ทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง ซึ่งนำไปสู่สภาวะ การแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรค หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์-อัมพาต หรือแม้แต่โรคไตวายเรื้อรัง ทั้งที่ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ สามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ในระยะแรกโรคความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการ จะแสดงอาการเมื่อเป็นมากแล้ว และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจไม่เพียงพอ "คุณจะไม่ทราบเลยว่าค่าความดันโลหิตในร่างกายคุณเริ่มสูงขึ้น หากไม่ ตรวจสุขภาพ หรือหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ"

แล้วค่าความดันโลหิตแบบไหน…ที่เรียกว่า "ความดันโลหิตสูง" ?

ค่าความดันโลหิตของผู้ใหญ่ โดยปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดไว้ว่า หากมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง

ค่าความดันสำคัญอย่างไร?

หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด ออกซิเจน และสารอาหารผ่านหลอดเลือดแดง เพื่อไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย โดยความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่ดันต้านกับผนังเส้นเลือดแดง ค่าความดันโลหิตปกติของผู้ใหญ่ โดยปกติ จะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า หากมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตที่สูงจะส่งผลต่อหลอดเลือดในร่างกาย และทำให้หลอด เลือดเกิดการเสียหาย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองอีกทั้งอาการของโรคความดันโลหิตสูง ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการหากปล่อยไว้โดยไม่รู้ว่าตนเองมีอาการดังกล่าว อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและเกิดภาวะฉุกเฉิน อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจขั้นรุนแรง อัมพฤต อัมพาตได้

สาเหตุความดันโลหิตเกิดจากอะไร?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง ได้แก่

อายุที่เพิ่มขึ้นประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูง (โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง)ทานอาหารรสเค็มจัด (เนื่องจากปริมาณเกลือที่สูง ส่งผลให้ความดันสูงได้)ขาดการออกกำลังกายน้ำหนักเกิน (ตรวจวัดได้จากค่า BMI ไม่ควรเกิน 25)ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำสูบบุหรี่การอดนอนสะสม

ทราบได้อย่างไรว่ามีความดันโลหิตสูง ?

วัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดัน ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบปรอท ซึ่งสามารถตรวจวัดด้วยตนเอง ที่บ้าน หรือจะมาตรวจวัดที่โรงพยาบาลก็ได้ ซึ่งการมาตรวจวัดที่โรงพยาบาลก็มีข้อดีตรงที่ มีบุคลากรให้คำปรึกษาได้ ทั้งเรื่องการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง และการปฏิบัติตัวเมื่อวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าผลผิดปกติ

การรักษา

เริ่มแรกคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง เช่น งดเค็ม ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น แต่หากควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้หรือระดับความดันโลหิตสูงมาก การรับประทานยา คือ อีก 1 วิธีการในการรักษาที่ได้ผล ซึ่งในบางครั้งความดันโลหิตที่สูงมากจนอันตราย อาจได้รับคำแนะนำให้เริ่มทานยาลด ความดันโลหิตควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปพร้อมกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจต้องใช้เวลา เป็นเดือนกว่าจะได้ผล แต่การกินยาจะมีผลในการลดความดันโลหิตได้ตั้งแต่เม็ดแรกที่ทาน

การป้องกัน

โรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ หรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ โดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการดื่มคาเฟอีน ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ: ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท โทร . 02-391-0011 ต่อ 665, 666

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ