กทม.ชี้แจงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงการสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย

อังคาร ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๕๕
นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กทม. กล่าวกรณีมีข้อกังวลถึงผลกระทบของโครงการสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย และมาตรการรองรับการขยายตัวของสถานที่ราชการให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนว่า โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยแห่งใหม่ ตั้งอยู่ในแขวงบางลำพูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีน้ำตาล) บริเวณที่ ย.8-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก รองรับการอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่มีการส่งเสริมและดำรงรักษาทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ได้คำนึงถึงความหนาแน่นของประชากรและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จึงกำหนดให้บริเวณดังกล่าวมีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR ไม่เกิน 6:1 เพื่อป้องกันสภาพความแออัดและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการให้บริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เพียงพอและมีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีอัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เพื่อควบคุมความโปร่งโล่งของพื้นที่ ทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมของเมือง สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ จะมีการพิจารณาในหลายมิติ ทั้งในด้านผังเมือง ซึ่งมุ่งเน้นการกำหนดแผนผังและมาตรการที่ดูแลประชาชนในเรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ด้านสิ่งแวดล้อม มีการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งเป็นการดูแลประชาชนในเรื่องของขนาดอาคาร กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและในด้านการควบคุมอาคาร ดูแลความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์อาคาร การก่อสร้างโครงการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องบูรณาการในหลายมิติทั้งด้านการจราจร สิ่งแวดล้อม ผังเมือง และการควบคุมอาคาร ต่อไป

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย บริเวณถนนเจริญนคร เขตคลองสาน อยู่ระหว่างการออกแบบอาคาร โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งโครงการฯ เข้าข่ายจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญก่อน โดยจะมีการพิจารณาผลกระทบในด้านต่าง ๆ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ