ปรับแก้รายงาน EIA โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเพิ่มเติม - เร่งคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินการก่อสร้าง

อังคาร ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๘:๐๘
นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวกรณีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) มีแนวคิดเสนอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงรามอินทรา-ลำลูกกา และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ-บางปู ที่เดิมกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบ มาดำเนินการเอง เนื่องจากทั้ง 2 โครงการ ไม่มีความคืบหน้าว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 12 เส้นทาง ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ.2553-2572) โดยกำหนดให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนสายรอง ต่อมาในเดือนธันวาคม 2556 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดส่งข้อมูลรูปแบบและรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาให้ กทม.

จากนั้น กทม. ได้ของบประมาณศึกษาความเหมาะสมจัดทำแบบเบื้องต้นและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาของโครงการ โดยได้รับงบประมาณในปี 2557 และหลังจาก กทม. ได้ศึกษาฯ และเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 และได้มีการเสนอรายงานฯ ต่อ สผ. ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.62 โดยที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ได้พิจารณาเมื่อวันที่ 6 มี.ค.63 และได้มีมติให้เพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การปรับแก้การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร การประเมินความแออัดในการให้บริการ การตรวจสอบความถูกต้องของจุดตัดระหว่างโครงการกับ Airport Rail Link การปรับรูปแบบโครงสร้าง ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างปรับแก้รายงานเพิ่มเติม คาดว่าจะสามารถส่งให้ สผ.พิจารณาได้อีกครั้งประมาณปลายเดือน ส.ค.63 สำหรับการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Public-Private Partnership : PPP) ปัจจุบันได้รับงบประมาณปี 2564 เฉพาะในส่วนของการเสนอโครงการจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา (ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ) เพื่อนำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเข้าสู่กระบวนการ PPP

ส่วนสาเหตุที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาล่าช้า เนื่องจากการพิจารณา EIA ในการดำเนินโครงการต้องได้รับความเห็นชอบในหลักการจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ โดย กทม. ได้ประสาน กทพ. ตั้งแต่ปี 2558 และได้หารือร่วมกัน จนปัจจุบัน กทม. ได้รับอนุญาตจาก กทพ. แล้ว ทั้งนี้ กทม. จะเร่งรัดกระบวนการ PPP เพื่อคัดเลือกเอกชนที่จะดำเนินการก่อสร้าง โดยมีแผนการเปิดให้บริการโครงการดังกล่าวในปี 2568 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ-บางปู โครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านขั้นตอน EIA แล้ว อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการก่อสร้าง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version