ไทยนำอาเซียนหารือจีน ยกระดับความตกลงทางการค้า เร่งเปิดตลาดเสรีเพิ่มเติม หลังโควิด-19 คลี่คลาย

พุธ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๒๓
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน (ASEAN - China Free Trade Agreement - Joint Committee : ACFTA-JC) ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563

ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และ Ministry of Commerce สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะองค์ประกอบผู้แทนไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การประชุมดังกล่าว ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินการตามประเด็นที่จะเจรจาต่อไปในอนาคต (Future Work Programme) ภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน (ACFTA Upgrading Protocol) ได้แก่ การหารือแนวทางการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การหารือการเปิดเสรีและการคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการหารือความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือ ACFTA อาทิ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และขณะเดียวกันที่ประชุมก็ได้เน้นย้ำถึงถ้อยแถลงร่วมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน - จีน ที่ได้แสดงเจตจำนงร่วมกันเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระดับโลกและภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในด้านการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่นในการรักษาตลาดที่เปิดกว้าง การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนเพื่อรักษาห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการใช้มาตรการเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดและปรับปรุงเสถียรภาพของเศรษฐกิจในภูมิภาค

รองเลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า สำหรับกรอบความตกลง ACFTA จะช่วยให้ภาคการเกษตรของไทยได้โอกาสในการขยายตลาดการส่งออกสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดประเทศจีนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการหารือเพื่อขยายความร่วมมือในด้านวิชาการและการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย ตลอดจนประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 1 ของไทย ซึ่งระหว่างปี 2560 - 2562 ทั้งสองฝ่ายมีสัดส่วนการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันเฉลี่ยปีละ 284,482 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ 219,691 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยปีละ 64,791 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเฉลี่ยปีละ 154,900 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางธรรมชาติ ทุเรียน และมันสำปะหลัง ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ พืชผักแห้ง สัตว์น้ำแช่แข็ง แอปเปิ้ล เห็ดหูหนู และองุ่นสด เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๖:๓๙ คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๖:๐๘ พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๖:๐๑ BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๖:๒๘ บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๖:๐๖ PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๖:๔๖ CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๖:๒๕ ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ