พญ.วนิชา ปัญญาคำเลิศ ผู้อำนวยการ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า น้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นับเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับทารก คุณแม่ควรเริ่มให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วที่สุดหลังคลอด หรือภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะก่อความรักและรู้สึกผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย ช่วยสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นที่ลูกน้อยสามารถรับรู้ได้ในทันที คุณประโยชน์ของนมแม่ คือ มีสารอาหารครบถ้วน สร้างภูมิต้านทานโรค สะอาด ย่อยง่ายช่วยให้ลูกท้องไม่ผูก เสริมสร้างสติปัญญา เสริมสร้างความรักความอบอุ่น แม่ควรอุ้มทารกไว้แนบอก ถ้าลูกได้รับความอบอุ่นจะช่วยให้สามารถดื่มนมแม่ได้ตั้งแต่ชั่วโมงแรกๆ เสริมสร้างการให้นมแม่ได้ในระยะยาว ที่สำคัญลูกควรได้รับแต่นมแม่เท่านั้นในช่วง 6 เดือนแรก ห้ามให้น้ำ อาหาร หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เนื่องจากสมองของเจ้าตัวเล็กเติบโตเร็วมากในขณะที่กระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก หากให้น้ำหรืออาหารอื่นๆ ลูกจะดื่มนมแม่น้อยลง การให้นมแม่อย่างเดียวถือว่าเพียงพอเพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนอยู่แล้ว
ดังนั้น การให้นมแม่อย่างถูกวิธีจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ก่อนคลอด การเลือกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีคลินิกนมแม่ที่มีการอบรมครรภ์คุณภาพ การให้ความรู้ตั้งแต่การให้นม การปั๊มนม การเก็บนม เรียนรู้พร้อมแก้ไขปัญหาเต้านมคัด น้ำนมไม่ออก หัวนมอุดตัน พร้อมให้การดูแลตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด โดยมีพยาบาลนมแม่ทำงานร่วมกับทีมสูติ-นรีแพทย์ กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (NICU) นักโภชนาการ นักกายภาพ ที่พร้อมให้คำแนะนำ รับฟัง ใส่ใจทุกรายละเอียด และช่วยแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกน้อยได้สำเร็จและสมบูรณ์ ย่อมช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกน้อยได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ
พญ. วนิชา กล่าวเพิ่มเติมว่า คลินิกนมแม่ ของ รพ. กรุงเทพ เราให้การดูแลทุกมิติเพื่อความสำเร็จในการให้นมแม่ ตั้งแต่ก่อนคลอด เริ่มตั้งแต่คุณแม่เข้ามาฝากครรภ์ จะได้รับการตรวจประเมินเต้านมก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นจะมีการอบรมครรภ์คุณภาพเพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมความพร้อมและให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการให้นมลูกในช่วง 3 เดือนแรก โดยจะมีการอบรมอีกครั้งในช่วงอายุครรภ์ 3-5 เดือน (ครรภ์อ่อน) จะให้ความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของนมแม่ อาหารเพิ่มน้ำนม และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และ ในช่วงอายุครรภ์ 6-8 เดือน (ครรภ์แก่) เข้ารับการอบรมครรภ์คุณภาพรวมทั้งการออกกำลังกายท่าโยคะสำหรับคุณแม่ และพยาบาลสอนการเลี้ยงลูก อาทิ ท่าอุ้มลูก วิธีการอาบน้ำ เป็นต้น
และหลังคลอด ควรให้ลูกดูดนมทันทีนอกจากจะเป็นการสร้างสายใยความผูกพันและความอบอุ่นระหว่างแม่และลูกน้อยแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายแม่สร้างน้ำนมได้มากและเร็วยิ่งขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย โดยเน้นให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมง พยาบาลทารกแรกเกิด (Nursery) จะเข้ามาช่วยฝึกสอนท่าอุ้มลูกที่ถูกต้องให้กับคุณแม่และการเอาลูกเข้าเต้าได้อย่างราบรื่น ในกรณีที่คุณแม่บางรายน้ำนมอาจจะยังมาหรือมาช้าจะมีพยาบาลนมแม่คอยให้ปรึกษา และเข้าเยี่ยมสม่ำเสมอเพื่อให้คุณแม่รู้สึกอุ่นใจคลายความกังวล หากคุณแม่ต้องกลับไปทำงานควรวางแผนในการให้นมลูก โดยคุณแม่ต้องเรียนรู้เรื่องการปั๊มนมและเก็บนม โดยในระหว่างวันทำงานช่วงพักสามารถปั๊มนมเก็บไว้ได้ โดยศึกษาวิธีการและเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ที่สำคัญควรให้ลูกดูดนมจากเต้าก่อนไปทำงาน หลังกลับจากที่ทำงาน ตอนกลางคืน และช่วงวันหยุด เพราะการที่ลูกดูดนมแม่จากเต้าจะช่วยสร้างน้ำนมได้มากกว่าการใช้เครื่องปั๊มนม เพื่อลูกจะได้กินนมแม่ได้นานที่สุด อาจมีปัญหามากมายที่ทำให้คุณแม่กังวลในการให้นมบุตร การเข้ารับคำปรึกษาและได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากคลินิกนมแม่ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้คุณแม่ในการรับมือลูกน้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกนมแม่ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.02-310-3005 02-755-1005 หรือ call center โทร.1719