อีริคสันจับมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดแสดงนวัตกรรม 5G

พฤหัส ๐๖ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๓๒
ในภาพจากซ้ายไปขวา: นายวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์คโซลูชันส์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด ศ. ดร. บุญไชย สถิตมั่นในธรรม หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ร้อยโท ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ประกาศความร่วมมือล่าสุดในงาน “Chula 5G For Real Exhibition” โดยจัดแสดงและนำเสนอนวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกันจากเทคโนโลยี 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT อาทิ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Automos Vehicles) ทันตแพทย์ทางไกล (Tele-Dentistry) ที่ตอบรับสังคมสูงวัย และบริการตรวจรักษาทางไกล (Tele-Medical Services) ให้กับประชาชนผ่านเทคโนโลยีเอไอ

ศ.ดร. วาทิต เบญจพลกุล ประธานโครงการทดสอบบริการโทรคมนาคมไร้สาย 5G กล่าวว่า “ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ศูนย์ 5G Innovation Center ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเราได้พัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย ร่วมกับพันธมิตรอื่น ๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงอีริคสันด้วย ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงาน กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) โดยมีพันธกิจหลักคือเพื่อพัฒนารูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ที่มีคุณประโยชน์แก่สังคมและขับเคลื่อนให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้น หนึ่งปีเต็ม ๆ ที่พวกเรามุ่งมั่นทำงานกันอย่างหนัก วันนี้เราพร้อมแสดงให้ทุกภาคส่วนได้เห็นความสำเร็จและความคืบหน้าของการพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทยแล้ว”

เทคโนโลยี 5G จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวไกลไปสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมตอบสนองความต้องการและสร้างความน่าเชื่อถือได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสใหม่ ๆ ไปสู่กลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย ประกอบด้วย กลุ่มดูแลสุขภาพ (Healthcare) กลุ่มยานยนต์ (Automotive) และกลุ่มการผลิตด้านอุตสาหกรรม (Manufacturing) ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยคาดการณ์ว่าภายใน พ.ศ. 2573 มูลค่าของรายได้รวมจากธุรกิจดิจิทัลที่เปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G จะอยู่ที่ประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

นางนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ถือเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่อีริคสันได้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือครั้งนี้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ที่เข้ามาช่วยเสริมและสร้างนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตที่ดีกว่าในงาน “Chula 5G For Real Exhibition”

“เราทราบกันดีว่าเทคโนโลยี 5G นั้นไม่ใช่เป็นเพียงเทคโนโลยีด้านเครือข่ายรุ่นถัดไปเท่านั้น แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมมากมายให้เกิดขึ้นและเป็นจริงได้พร้อมกับผลักดันทั้งภาคอุตสาหกรรมและสังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ พร้อมนำพาเทคโนโลยี IoT ให้ก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการทำงานทั้งหมดตั้งแต่แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนไปจนถึงการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์แบบเรียลไทม์ภายในโรงงาน” นางนาดีน กล่าวเสริม

ด้วยประสบการณ์และการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 100 ปี อีริคสันมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ให้บริการโทรคมนาคมเปิดใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อรับประโยชน์อย่างเต็มที่จากเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ พร้อมมอบประสบการณ์ออนไลน์ที่เหนือกว่าให้แก่ผู้ใช้งาน โดยอีริคสันมีการลงทุนอย่างจริงจังด้านการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลกเพื่อพัฒนาพอร์ตโฟลิโอ 5G ให้มีความครอบคลุมและโดดเด่น อันประกอบไปด้วยแพลตฟอร์ม 5G ครบวงจรที่ครอบคลุมโซลูชั่นเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ Ericsson Spectrum Sharing และ 5G-ready (hardware) radios

นอกจากนี้ อีริคสันยังร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำรวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันทางด้านเทคโนโลยีมากกว่า 40 แห่ง และพันธมิตรในอุตสาหกรรมอีก 30 ราย เพื่อสร้างความเข้าใจการพัฒนานวัตกรรมและสร้างระบบนิเวศ 5G ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

“การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เครือข่ายโทรคมนาคมทั้งเครือข่ายมือถือและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบ้านสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ พร้อมย้ำให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อคุณภาพสูงที่จะมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนผลิตภาพของประเทศ โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือความเร็วสูงอย่าง 5G จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำเสนอแพลตฟอร์มที่มีเสถียรภาพสำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมและสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทย” นางนาดีนกล่าวสรุป

ปัจจุบันอีริคสันได้ลงนามในสัญญาทางการค้ากับลูกค้าต่าง ๆ ไปแล้วถึง 99 ราย โดยมีผู้ให้บริการถึง 55 รายได้เปิดใช้งานเครือข่าย 5G แล้วใน 5 ทวีป

เกี่ยวกับ อีริคสัน

อีริคสัน สนับสนุนผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในการสร้างมูลค่าสูงสุดจากการเชื่อมต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมเครือข่าย (Networks) การบริการดิจิทัล (Digital Services) การบริหารจัดการเครือข่าย (Managed Services) และธุรกิจเกิดใหม่ที่กำลังเติบโต (Emerging Business) และมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าให้มุ่งสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพ และมองหารายได้รูปแบบใหม่ การลงทุนเพื่อพัฒนา นวัตกรรมของอีริคสันได้มอบประโยชน์จากระบบโทรศัพท์และเครือข่ายเคลื่อนที่ให้แก่ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก อีริคสันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในกรุงสต็อกโฮล์ม และใน NASDAQ นครนิวยอร์ค ติดตามข้อมูลข่าวสารของอีริคสันได้ที่ www.ericsson.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ