ไอบีเอ็ม โกลบอล เทคโนโลยี เซอร์วิส ปรับทัพประสานพลัง เผยทิศทางการรุกตลาดธุรกิจ ด้วยห้าบริการหัวหอก

พฤหัส ๓๑ สิงหาคม ๒๐๐๖ ๑๗:๕๐
กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย
เน้นการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้สอดรับกับธุรกิจ ผสานแนวทางกลยุทธ์ต่างๆ ที่ช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อน เพิ่มความแข็งแกร่ง และปกป้องทรัพยากรด้านไอที จะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรที่มีความยืดหยุ่นและความคล่องตัว และรองรับสภาพแวดล้อมแบบออนดีมานด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โดย นายชุติเดช ปริญฐิติภา รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจบริการ ประกาศปรับทัพประสานพลังเพื่อปรับปรุงบริการให้ตรงใจลูกค้าขนาดย่อมและขนาดใหญ่ โดยได้เผยให้เห็นทิศทางธุรกิจที่จะนำพาธุรกิจบริการของไอบีเอ็มไปสู่ความสำเร็จด้วยห้าบริการหลัก
นายชุติเดช ปริญฐิติภา กล่าว “จากรายงานฉบับล่าสุดของการ์ทเนอร์ ชี้ว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ล้าสมัย โดยติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ และเพิ่มเติมพลังและกลไกการประมวลผลโดยไม่จำเป็นด้วยเหตุนี้ โครงสร้างพื้นฐานของหลายๆ องค์กรจึงมีขนาดใหญ่ สลับซับซ้อน ขาดประสิทธิภาพ และใช้งานได้ไม่เต็มที่ ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบริหารจัดการ และเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการบำรุงรักษา รายงานฉบับดังกล่าวของการ์ทเนอร์ยังคาดการณ์ว่า ภายในปีพ.ศ.2551 องค์กรธุรกิจอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ในการจัดซื้อจัดจ้างทางด้านไอที โดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงแก่ผู้ใช้”
อย่างไรก็ดี แนวคิดเรื่องไอทีขององค์กรต่างๆ มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจแบบออนดีมานด์ในปัจจุบัน ทำให้องค์กรจำเป็นต้องทำการตัดสินใจอย่างฉับไว ตอบสนองอย่างทันท่วงที และรักษาขีดความสามารถในการขยายธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนเปรียบเสมือนไขมันส่วนเกิน ที่ทำให้องค์กรธุรกิจไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพียงพอ และไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ ดังนั้นเพื่อรักษาความได้เปรียบด้านการแข่งขัน จึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างเหมาะสม มิฉะนั้นก็อาจจะต้องออกจากการแข่งขันธุรกิจไป
เพื่อขจัดส่วนเกินของระบบไอทีภายในองค์กร การปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรแบบออนดีมานด์ (on-demand enterprise) ที่มีความยืดหยุ่นและความคล่องตัวเป็นเรื่องจำเป็น แต่การดำเนินการไม่ใช่กระบวนการที่จะเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลาอันสั้น แต่เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะการติดตั้งและบริหารจัดการระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในการให้บริการแก่องค์กรธุรกิจที่มีความหลากหลายทั่วโลก ไอบีเอ็มได้แนะนำห้าบริการหลักต่อไปนี้สำหรับการลดความยุ่งยากซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มความคล่องตัว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้องค์กรเหล่านี้ขจัดระบบที่ซ้ำซ้อนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพเหนือกว่า เพื่อรองรับการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างดี
1. บริการลดความซับซ้อนทางด้านไอทีเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรไอที (IT Resource Optimization) เป็นชุดฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถลดขนาดและความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการแอพพลิเคชั่นได้มากขึ้น บริการนี้ยังเกี่ยวข้องกับการผนวกรวมระบบ การปรับใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtualization และการจัดสรรเทคโนโลยีให้กับทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์และทรัพยากรด้านการจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม
2. การจัดการบริการด้านไอที ปรับทุกส่วนขององค์กรให้ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน (IT Service Management) นับเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างระบบอัตโนมัติและการผนวกรวมกระบวนการจัดการไอที รวมถึงข้อมูล สารสนเทศ และบุคลากร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองอย่างฉับไวต่อความต้องการทางด้านธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
3. การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนอง (Information Lifecycle Management) จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ด้วยการปรับปรุงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และจัดหาข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่ผู้ใช้ภายในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจ
4. บริการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity) ครอบคลุมการกู้คืนระบบไอที ความพร้อมใช้งาน และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อธุรกิจ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การรักษาความปลอดภัย และมาตรฐานความเป็นส่วนตัว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดำเนินธุรกิจและระบบ งานต่างๆ สามารถรองรับความผันผวนของตลาด และยังคงดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ
5. บริการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรปกป้องระบบธุรกิจให้มีความปลอดภัย (Security Services) จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถประเมินโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และจัดหาโซลูชั่นและระบบที่จะช่วยคุ้มครองและปกป้องทรัพยากรทางด้านธุรกิจให้ปลอดภัย โดยจะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการฉ้อโกงและการโจรกรรม ทั้งยังรองรับการทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัยระหว่างผู้ใช้ โดยเป็นไปตามกฎระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
โดยแนวทางปรับโครงสร้างเพื่อรองรับอนาคตที่ระบุข้างต้นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดทำแผนงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับ การปรับโครงสร้างพื้นฐานให้สอดรับกับธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ในรูปแบบของการปรับเปลี่ยนทรัพยากรด้านไอทีให้สอดคล้องกับความต้องการทางด้านธุรกิจ และการปรับปรุงความรวดเร็วและความเหมาะสมในการตอบสนองต่อสภาวะของตลาดให้ดีขึ้น
เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย: บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
คุณกฤษณา ศิลประเสริฐ โทรศัพท์: 0-2273-4639 อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ