วสท. รวมพลังวิศวกรอาสา...ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงรายและน่าน 12-14 สค.นี้ ตรวจสภาพอาคารบ้านเรือน

พฤหัส ๑๓ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๑๑
ผลจากพายุซินลากูที่เคลื่อนเข้าถล่มเมื่อต้นเดือน ส.ค. ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ของประเทศไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นำโดย ดร.ธเนศ วีรศิริ นายก วสท. พร้อมทั้งเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ วสท.สาขาภาคเหนือ 1, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และสมาคมยักษ์ขาว ดำเนินแผนงานโครงการ วิศวกรไทยรวมใจช่วยประชาชน ผู้ประสบภัยน้ำท่วมแบ่งเป็น 2 แผนงาน คือ1. เปิดรับบริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพ เพื่อส่งมอบให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ ผู้มีความประสงค์จะร่วมสามารถบริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ - 20 สิงหาคม 2563 และแผนที่ 2. รวมพลังวิศวกรอาสาลงพื้นที่หลังน้ำลด 12 – 14 สิงหาคม 2563 จังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงราย เพื่อตรวจสอบโครงสร้างและสภาพของสะพาน ถนน และอาคารบ้านเรือนประชาชน

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า ด้วยอิทธิพลจากพายุซินลากูตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. 63 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก วาตภัย ดินโคลนถล่ม ดินสไลด์ และถนนถูกตัดขาดในหลายพื้นที่ ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ) ช่วงที่มีผลกระทบสูงสุดในวันที่ 7 ส.ค. 63 รายงานเกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ ดินถล่ม ในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน สร้างผลกระทบต่อบ้านเรือนรวมกว่า 22,800 หลังคาเรือน โดยจังหวัดที่ได้รับความเสียหายมาก คือ เชียงราย, ลำปาง, พะเยา, เลย, น่าน, พิษณุโลก เป็นต้น ล่าสุดขณะนี้สถานการณ์น้ำหลายพื้นที่ในประเทศไทยได้เริ่มลดลงแล้ว แต่ประชาชนยังคงมีความกังวลด้านผลกระทบหลังจากน้ำลด โดยเฉพาะความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างบ้านอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบประปา และระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย รวมถึงถนนทรุดตัวสะพานขาด และดินสไลด์ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ วสท.ได้ระดมทีมวิศวกรอาสาลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลด ในวันที่ 12 -14 สิงหาคม 2563 ในจังหวัดเชียงรายและน่าน โดยนำทีมวิศวกรอาสาผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเสียหายของอาคาร บ้านเรือน โรงเรียน วัด และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ พร้อมให้คำแนะนำทางด้านวิศวกรรมแก่หน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและฟื้นฟูให้คืนกลับสู่สภาพเดิมอีกครั้ง

นายก วสท. กล่าวในตอนท้ายว่า แม้ว่าพายุ “ซินลากู” ได้สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนประชาชนมากมาย แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เขื่อนหลายแห่งสามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มมากขึ้นสำหรับใช้ประโยชน์ อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 400 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 214 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 7 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนกิ่วคอหมา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 43 ล้านลูกบาศก์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในช่วงฤดูมรสุม ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ต้องเตรียมตัวรับมือตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือนถึงพายุระลอกใหม่อีก 2 ลูก ระหว่าง 15 ส.ค. - ก.ย. 63 นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี