ไปรษณีย์ไทยเปิดตัวโครงการ “ไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564” แปลงร่างกล่องพัสดุและซองกระดาษเป็นอุปกรณ์การเรียนสู่น้องๆ รร.ตชด.

จันทร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๒๔
ไปรษณีย์ไทย เชิญชวนนักช้อปรวบรวมกล่องพัสดุและซองกระดาษไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูป 14 ส.ค. – 31 ต.ค. 63

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดตัวโครงการ “ไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564” รวบรวมกล่องพัสดุทุกประเภท และซองกระดาษที่ไม่สามารถใช้ซ้ำได้ เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นอุปกรณ์การเรียนเพื่อส่งมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 ให้น้องๆ นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหากล่องพัสดุล้นเมืองในช่วงการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และเป็นการนำร่องให้มีการยกระดับกล่องพัสดุให้มีคุณค่าและมูลค่ามากขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบไปรษณีย์ใกล้บ้านที่เป็นจุดรับรวบรวมได้ที่ www.thailandpost.co.th ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2563

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการส่งสิ่งของและปริมาณกล่องพัสดุ รวมทั้งซองกระดาษเพิ่มสูงขึ้น โดยในแต่ละปีจะมีปริมาณสิ่งของที่ฝากส่งผ่านไปรษณีย์ไทย รวมถึงผู้ขนส่งต่างๆ รวมกว่า 800 ล้านชิ้น/ ปี ไปรษณีย์ไทยในฐานะหน่วยงานหลักด้านการสื่อสารและการขนส่งของชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการกล่องพัสดุและซองกระดาษใช้แล้วที่จะกลายเป็นขยะ จึงได้มุ่งเน้นรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการนำกล่องพัสดุและซองกระดาษที่ยังแข็งแรง สภาพดี กลับมา ใช้ซ้ำ รวมถึงการนำไปต่อยอดในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการผลิต และลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เป็นการจัดการกับของเสียหรือขยะจากสินค้าหลังจากการบริโภค เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยวิธีการนำสินค้าที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกเป็นการพัฒนาเศรฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมหรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายก่อกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ “ไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564” เป็นความร่วมมือระหว่างไปรษณีย์ไทย และ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เพื่อนำกล่องพัสดุ และซองกระดาษที่ไม่สามารถใช้ซ้ำได้เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในด้านการศึกษา พร้อมส่งมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 ให้แก่น้องๆ นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยขอเชิญชวนประชาชนคนไทย ผู้ที่ใช้บริการส่งสิ่งของกับไปรษณีย์ไทย รวมถึงผู้ขนส่งอื่นๆ ให้นำกล่องพัสดุ และซองกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว มาให้ที่ไปรษณีย์ไทย เพื่อรวบรวมและส่งเข้ากระบวนการรีไซเคิล สำหรับผู้ใช้บริการที่สนใจสามารถตรวจสอบไปรษณีย์ใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้ที่ www.thailandpost.co.th ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2563

“ปัจจุบันรูปแบบการกำจัดขยะประเภทกล่องหรือซองกระดาษ ถือว่ายังไม่ได้มีแนวทางที่ตายตัว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะทำเพียงการนำมากลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะกล่องไปรษณีย์ที่มีความแข็งแรงสูงและสามารถกลับอีกด้านหนึ่งออกมาใช้ได้ หรือนำไปเข้าสู่กระบวนการย่อยนำมาทำเป็นกระดาษรีไซเคิลใช้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม “ไปรษณีย์ reBOX เปลี่ยนกล่อง/ซองเป็นของขวัญปีใหม่ 2564” เป็นโครงการหนึ่งในการนำสิ่งของที่ไม่สามารถใช้ซ้ำได้ ไปทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบสังคม ที่มีเป้าหมายมากไปกว่าการจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แต่ตั้งเป้าหมายสุดท้ายปลายทางเพื่อสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัลให้เติบโตอย่างยั่งยืน” นายก่อกิจ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ