PRINC ไม่หวั่นเดินหน้าขยายโรงพยาบาลให้ครบ 20 แห่งภายในปี 65 มั่นใจไตรมาส 3 เริ่มฟื้น

จันทร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๑๐
PRINC เชื่อครึ่งหลังของปี 2563 จะดีหลังเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 พร้อมเดินหน้าเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลให้ครบ 20 แห่ง ตามแผนเดิม คาดใช้เงินลงทุนราว 3,900 ล้านบาท ยอมรับผลจากโควิด-19 ส่งผลประกอบการไตรมาส 2 รายได้และกำไรลดลง

นายสาธิต วิทยากร ประธานคณะกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด(มหาชน) หรือ PRINC เปิดเผยว่า ช่วงฤดูฝนหรือเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนของทุกปีต่อเนื่องถึงช่วงไตรมาส 3 ถือเป็นช่วงวงจรธุรกิจขาขึ้นสำหรับธุรกิจโรงพยาบาล แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางรัฐบาลประกาศมาตรการล็อคดาวน์ สนับสนุนให้ประชาชนรักษาระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาของกลุ่มโรงพยาบาลภายใต้การบริหารของบริษัท ลดลงโดยเฉลี่ย 10-15% และทำให้รายได้รวมของบริษัทฯ ในงวดไตรมาส 2 ของปี 2563 มีจำนวน 523 ล้านบาท ลดลง 23% และมีผลขาดทุนสุทธิ 183 ล้านบาท

บริษัทฯ ประเมินว่าตลอดปี 2563 นี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจโรงพยาบาล แต่คาดว่าธุรกิจโรงพยาบาลจะฟื้นตัวได้เร็วและดีกว่า ทำให้คาดว่าผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2563 จะมีทิศทางที่ดีกว่างวด 6 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีรายไดรวม 1,233 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิ 305 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทได้ให้ความสำคัญ และติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด พร้อมกับประเมินผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและวางแผนเพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล

ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทฯยังคงเป้าหมายขยายจำนวนโรงพยาบาลให้ครบ 20 แห่ง ภายในปี 2565 จากปัจจุบันมีจำนวน 11 แห่ง คาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 3,900 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก จำนวน 8 โรง ใช้เงินลงทุนรวมราว 2,400 ล้านบาท และโรงพยาบาลขนาดใหญ่อีก 1 โรง เงินลงทุนราว 1,500 ล้านบาท

“บริษัทฯ ยังคงแผนลงทุนเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลให้ครบ 20 แห่งภายในปี 2565 เพียงแต่จะเป็นการทยอยลงทุนและปรับกลยุทธ์ด้วยการลดขนาดของโรงพยาบาลให้เล็กลง เพื่อให้บริการรองรับผู้มีรายได้ปานกลาง สอดคล้องกับรายได้ของประชากรซึ่งลดลงตามการหดตัวของเศรษฐกิจ”

สำหรับแหล่งเงินลงทุนนั้นจะอาศัยหลายช่องทางการระดมทุน ด้วยฐานะการเงินในปัจจุบันค่อนข้างแข็งแกร่ง อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำ 0.56 เท่า ทำให้มีเพดานในการกู้เงินได้อีก เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลทั่วไปอัตราหนี้สินต่อทุนจะรักษาไม่ให้เกิน 1 เท่า รวมไปถึงหากสามารถได้ข้อสรุปการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ 3 แห่ง มูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท จะทำให้มีสภาพคล่องนำไปลงทุนเพิ่มได้ ประกอบไปด้วย โครงการแมริออท เอ็คเซ็คคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ สาทร วิสต้า-กรุงเทพ โครงการซัมเมอร์เซ็ท เอกมัย แบงค็อก และอาคารบางกอกบิสซิเนสเซ็นเตอร์

ขณะเดียวกันล่าสุดที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติหุ้นการเพิ่มทุนจดทะเบียน แบบมอบอำนาจทั่วไป(General Mandate) จำนวน 346.23 ล้านหุ้น ทำให้บริษัทฯมีความคล่องตัวในการระดมทุน และเป็นช่องทางในการมองหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านธุรกิจโรงพยาบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี