วว. ต้อนรับคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ในโอกาสศึกษาดูงานการผลิตไฟฟ้าฯ โครงการ R&D นวัตกรรม เทคโนโลยีพลังงานจากขยะและชีวมวล

จันทร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๗:๐๗
ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารและนักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับ นายกิตติกร โล่สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ในโอกาสศึกษาดูงาน “การผลิตพลังไฟฟ้าน้ำแบบสูบกลับ การผลิตพลังงานลม” ภายใต้การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ “โครงการด้านการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานจากขยะและชีวมวล” พร้อมเยี่ยมชมศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ภายใต้การดำเนินงานของ วว. ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งสร้างความเข้าใจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนา ต่อยอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ภายใต้การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2563 ณ จังหวัดนครราชสีมา

โครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ของ วว. ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อการรองรับแผนกลยุทธ์แห่งชาติว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ขององค์กร พร้อมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานทดแทน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนโดยเฉพาะพลังงานจากขยะและชีวมวล ที่มุ่งสู่ Green Technology ตามนโยบายรัฐบาล วว. จึงมีแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี Gasification/Pyrolysis และเทคโนโลยีแก๊สชีวภาพ (Biogas) โดยใช้วัตถุดิบชีวมวลและขยะ เพื่อการผลิตพลังงานทดแทนประเภทพลังงานไฟฟ้าและความร้อน เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศและลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน

โครงการแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและขยะชุมชนโดยเทคโนโลยีสะอาดในพื้นที่ของ วว. ประกอบด้วยชุดต้นแบบเทคโนโลยี 3 ชุด ได้แก่

ชุดเทคโนโลยีคัดแยกขยะชุดเทคโนโลยีควบคุมมลพิษและระบบอัตโนมัติสำหรับโรงไฟฟ้าขนาดเล็กกว่า 1 เมกะวัตต์ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตแก๊สชีวภาพชุดเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากขยะและชีวมวล

ทั้งนี้ ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ตั้งอยู่ที่ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา เพื่อใช้สำหรับการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานจากขยะและชีวมวล ทั้งนี้ วว. ได้ดำเนินการติดตั้งและทดสอบชุดต้นแบบเทคโนโลยี 3 ชุดดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีความพร้อมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานจากชีวมวลและขยะให้แก่ผู้สนใจ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนในการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ