บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมดูแลคูคลองในพื้นที่กรุงเทพฯ

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๔๕
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร ได้ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักการระบายน้ำ ได้ติดตาม เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดนนทบุรีถึงสมุทรปราการ จำนวน 9 จุด ทุกสัปดาห์ และติดตาม เฝ้าระวังคุณภาพน้ำคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 310 จุด ใน 169 คลอง เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพน้ำเป็นประจำทุกเดือน หากพบว่าพื้นที่ใดมีน้ำเน่าเสียรุนแรงจะใช้เครื่องเติมอากาศในน้ำ เพื่อแก้ไขให้น้ำมีสภาพดีขึ้น ขณะเดียวกันได้ขยายการพัฒนาคุณภาพน้ำในคลอง โดยดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพน้ำในคลอง 50 เขต 50 คลอง ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดแนวทางการพัฒนา จัดเก็บขยะ วัชพืช และขุดลอกคลองสม่ำเสมอ เพื่อลดความสกปรกที่สะสมและเปิดทางน้ำไหลบรรเทาน้ำเน่าเสีย รวมทั้งได้รณรงค์ไม่ให้ประชาชนทิ้งน้ำเสีย ขยะ และสิ่งปฏิกูลลงในทางน้ำสาธารณะ และจัดระบบไหลเวียนน้ำในคูคลองตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “น้ำดีไล่น้ำเสีย” โดยใช้น้ำคุณภาพดีผลักดันน้ำเน่าเสียออกไป นอกจากนั้น ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมขนาดใหญ่ จำนวน 8 แห่ง โดยแหล่งครอบครองน้ำเสียสามารถขอเชื่อมท่อน้ำเสียจากอาคารที่อยู่ในพื้นที่บริการและไม่ประสงค์จะบำบัดน้ำเสียเองให้เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวม อีกทั้งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยให้ความรู้และแนะนำการติดตั้งถังดักไขมัน ติดตั้งบ่อเกรอะ บ่อซึม ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป แก่บ้านเรือน ชุมชน และสถานประกอบการ จัดทำแผนการดูแลรักษาคูคลองในพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น โครงการเก็บขยะทางน้ำและหน้าตะแกรงสถานีสูบน้ำ โครงการเปิดทางน้ำไหล และโครงการจัดเก็บผักตบชวา ตลอดจนร่วมกับภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนจิตอาสา ส่งเสริมการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น สำนักสิ่งแวดล้อมยังได้รณรงค์สร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วมดูแลรักษาแม่น้ำคูคลอง ไม่ทิ้งขยะ หรือของเสียลงในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ริมน้ำ 17 สำนักงานเขต โดยลงพื้นที่พบปะประชาชน สร้างความเข้าใจให้มีการคัดแยกขยะรีไซเคิล และขยะเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ ขยะที่เหลือทิ้งในถังรองรับขยะหรือใส่ถุงทิ้งกับรถเก็บขยะตามวัน เวลาที่กำหนด อีกทั้ง มีนโยบายจัดเก็บ ขยะชิ้นใหญ่ทุกวันอาทิตย์ หมุนเวียนไปยังชุมชนต่าง ๆ เป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ไม่ต้องทิ้งขยะลงแม่น้ำคูคลอง เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีและช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย