กรุงไทยธุรกิจบริการ (KTBGS) ปรับตัวรับกระแส New Normal ขยายไลน์เสริมทัพ พร้อมดึงเทคโนโลยีสร้างความทันสมัยให้ธุรกิจ

จันทร์ ๒๔ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๒๗
บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด (KTBGS) ในกลุ่มของธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารถือหุ้น 100% เป็นผู้นำงานบริหารจัดการและขนส่งทรัพย์สิน (Cash in Transit) ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจหลัก หรือ Core Business ขององค์กร โดยมีบุคลากรเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ อย่างไรก็ตามการก้าวเข้าสู่ยุค Digital หรือ Cashless Society ส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมาก ซึ่งบริษัทก็ได้ เตรียมตัวมาแล้วเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี โดยการควบคุมอัตราการเติบโตของบุคลากรด้านงานขนส่งทรัพย์สินและงานให้บริการด้าน ATM

ปัจจุบัน KTBGS ถือเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจบริหารจัดการและขนส่งทรัพย์สินให้แก่สถาบันการเงิน โดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดที่ 26% โดยมีรายได้ในงานบริการขนส่งทรัพย์สินอยู่ที่ 1,434 ล้านบาท (ข้อมูล : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำปี 2562)

นางอรจรรยา จันทวรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด (KTBGS) ได้เปิดเผยว่า “สำหรับธุรกิจรถขนเงินตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาถือว่าได้รับผลกระทบพอสมควร เพราะปัจจุบันถือว่าเราได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว ผู้ต้องการใช้เงินสดมีจำนวนลดลง เพราะมีการใช้ดิจิทัล แบงค์กิ้ง เพิ่มมากขึ้น ทำให้รายได้ของธุรกิจขนส่งเงินสดมีอัตราที่ลดลงเทียบจากปีก่อนประมาณ 13% จาก 6M/62 = 763.69 ล้านบาท และ 6M/63 = 665.51 ล้านบาท อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดขึ้น เลยยิ่งทำให้ความต้องการใช้เงินสดลงอย่างต่อเนื่องอย่างที่เราทราบกัน

ทั้งนี้บริษัทเองก็ได้มีการปรับตัว เพื่อที่จะรักษาฐานรายได้ให้กับองค์กร จึงมีการเพิ่มรายได้ธุรกิจด้านอื่นของบริษัทที่ให้บริการอยู่ เช่น งานบริการติดตามทวงหนี้ งานบริการ call center งานบริหารอาคารและสถานที่ งานบริการรักษาความปลอดภัย งานบริการรักษาความสะอาด และชีวอนามัย ซึ่งเดิมเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เป็นอันดับรองของบริษัท แต่ปัจจุบันบริษัทจะมุ่งเน้นการขยายตลาดในด้านนี้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

สำหรับในปีนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อระบบการดำเนินธุรกิจค่อนข้างมาก ธุรกิจขนส่งทรัพย์สินก็เช่นกัน เราต้องมีการคัดกรองพนักงานที่จะต้องปฎิบัติหน้าที่ รวมไปถึงการเพิ่มการรักษาความสะอาดตามเครื่องบริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ATM/ADM/RCM) อย่างทั่วถึง บริษัทจึงได้นำเทคโนโลยี งานระบบควบคุมทำความสะอาดตู้ ATM เข้ามาช่วยในการปฎิบัติงาน และเป็นการช่วยพนักงานในการทำรายงานงานและส่งมอบการทำงานและตรวจสอบคุณภาพของการปฏิบัติงานบริการทำความสะอาดให้ดีขึ้น นอกเหนือจากระบบ MDMS (Machine Drives Management Solutions) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ ที่บริหารจัดการควบคุมการแก้ไขตู้ ATM ในปัจจุบัน ซึ่งใช้มาเกือบ 8 ปี

นอกจากนี้บริษัทยังได้พัฒนาระบบ ESS (Employee Self Service) เพื่อบริหารจัดการบันทึกเวลาการทำงานเข้า-ออก ของพนักงานปฏิบัติการต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น พนักงานปฏิบัติการรักษาความสะอาด พนักงานปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย พนักงานปฏิบัติการขับรถ ฯลฯ และ การอนุมัติการทำงานล่วงเวลาของพนักงานปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดงานเอกสารทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น

หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 บริษัทได้มุ่งพัฒนารูปแบบการอบรมบุคลากรซึ่งมีกว่า 7,800 คน อย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการอบรมและพัฒนาจากรูปแบบเดิม (Offline) เป็นการพัฒนาบุคลากรสู่ Online สำหรับการอบรมที่ไม่เป็นเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และลดต้นทุนในการจัดการฝึกอบรมได้อย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับผลประกอบการในครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้รวม 1,202.77 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลประกอบการในระดับที่น่าพึงพอใจ ในขณะที่รายได้จากงานบริการขนส่งทรัพย์สินลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และแนวโน้มการใช้เงินสดที่ลดลง แต่การได้รับความร่วมมือจากพนักงานและผู้บริหาร ในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดผลสูงสุดอย่างที่เห็น

สำหรับแผนในครึ่งปีหลังนั้น บริษัทได้มีแนวทางเช่นเดียวกับครึ่งปีแรก คือ การบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และหารายได้เพิ่มจากงานอื่นนอกเหนือจากงานบริการขนส่งทรัพย์สิน นอกจากนี้ในระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี 2563 บริษัทได้มุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสนับสนุนภายในของบริษัท เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการงานหน้าบ้านให้แก่ลูกค้าในระยะยาว เช่น บริษัทได้เริ่มใช้ระบบ E-Document ตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้สามารถลดการใช้กระดาษและทำให้การจัดการระบบเอกสารภายในไม่ว่าจะเป็นการนำส่ง การนำเสนอ หรือการอนุมัติเอกสารภายในต่างๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค หรือพีซี เป็นต้น

โดยสรุปคือ บริษัทได้ปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤตดังกล่าว ด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ การเพิ่มลูกค้าในงานบริการรอง การลดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม Value ในงาน ทั้งงานบริการหลักและงานสนับสนุน อาทิ การเพิ่ม Productivity และ Efficiency ในงานบริการ การจัด Training Online ทดแทนรูปแบบเดิม การนำระบบ E-Document มาใช้ หรือการใช้ระบบ การบริหารจัดการบุคลากร (ESS) กับงานสนับสนุนงานปฏิบัติการ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในปีนี้ได้ถึง 7.63 % (เทียบกับงบประมาณ)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ