STGT รับตำแหน่งนายกสมาคม TRGMA สมัยที่ 2 พร้อมนำทัพขยายกำลังการผลิตถุงมือยางรองรับดีมานด์ในตลาดโลก

พฤหัส ๒๗ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๓๗
นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ได้รับการเลือกตั้งจากสมาคมถุงมือยางแห่งประเทศไทยหรือ The Thai Rubber Glove Manufacturers Association (TRGMA) ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นสมัยที่ 2 พร้อมวางกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้า มุ่งนำอุตสาหกรรมถุงมือยางไทยเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลก

“บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ฯ มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับตำแหน่งนี้ เรามีความเชื่อมั่นในศักยภาพของอุตสาหกรรมถุงมือยางไทย ที่จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกเป็น 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 16% ด้วยคุณภาพและมาตรฐานสินค้าในระดับสากล รวมถึงวัตถุดิบน้ำยางที่เราส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าให้แก่น้ำยางสด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ตลอดจนการขยายกำลังการผลิตและการทำการตลาดเชิงรุก พร้อมเน้นการขายถุงมือยางธรรมชาติที่ถือว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบกว่าคู่แข่งในประเทศอื่นๆ” นายวีรสิทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ บมจ. ศรีตรังโกลฟส์ฯ ได้ปรับแผนงานเร่งขยายกำลังการผลิตของ บมจ. ศรีตรังโกลฟส์ฯ ให้เร็วขึ้นอย่างน้อย 1 ปี โดยจะทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2564 เป็นต้นไป เป้าหมายคือจะเร่งขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 50,000 ล้านชิ้นต่อปี ให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 จากเดิมที่กำหนดไว้ภายในปี 2567 และขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 70,000 ล้านชิ้นต่อปี ให้แล้วเสร็จภายในปี 2569 จากเดิมที่กำหนดไว้ภายในปี 2571 พร้อมกันนี้จะขยายโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 8 แห่ง จากปัจจุบันที่มี 3 แห่งในพื้นที่ภาคใต้

ส่วนแผนงานขยายกำลังการผลิตในระยะยาวเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านชิ้นต่อปี กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2571 โดยเชื่อว่าด้วยความเชี่ยวชาญในธุรกิจถุงมือยาง การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีในการก่อสร้างและการผลิตที่คิดค้นและพัฒนาโดยทีมวิศวกรของบริษัทฯ จะทำให้บริษัทฯ สามารถเร่งขยายกำลังการผลิตได้อย่างรวดเร็ว

“ธุรกิจถุงมือยางเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากถุงมือยางคือสัมผัสแรกที่เราจะได้รับรู้และช่วยปกป้องเราไปพร้อมกับทุกช่วงเวลาในการดำเนินชีวิต ดังนั้นกระบวนการผลิตแต่ละส่วน ทั้งในส่วนวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนถึงการบริหารจัดการต่างๆ จะมีรายละเอียดที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี เพราะทุกส่วนจะส่งผลถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และสุขอนามัยที่ดีต่อผู้ใช้งาน นั่นหมายถึงการที่เราจะสร้างโรงงานผลิตถุงมือยางขึ้นแต่ละแห่ง นอกจากเงินทุนแล้ว คุณสมบัติเบื้องต้นคือจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในเรื่องถุงมือยางเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถผลิตถุงมือยางได้อย่างมีคุณภาพ ผ่านมาตรฐานการควบคุมทางการแพทย์จากหน่วยงานของรัฐในแต่ละประเทศ เพื่อแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งในตลาดโลกได้ ดังนั้นหากขาดคุณสมบัติข้อใดไปอาจจะทำให้ธุรกิจถุงมือยางไปไม่ถึงฝันได้ บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ฯ จึงมั่นใจว่าเราจะสามารถดำเนินการขยายกำลังการผลิตและทำให้บริษัทฯ เติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน” นายวีรสิทธิ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ