อพวช. มอบรางวัลการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5

ศุกร์ ๒๘ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๑๐
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด จัดงานมอบรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5” โดย นายบุญอนันต์ กุนทรวรินทร์ ผลงานเรื่อง The assassination of a human candidate ได้รับรางวัลชนะเลิศ รุ่นเยาวชน นายพรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์ นามปากกา จัตวาลักษณ์ ผลงานเรื่อง Love is… AI ได้รางวัลชนะเลิศ รุ่นประชาชนทั่วไป และนางสาวรติธรณ ใจห้าว ผลงานเรื่อง บริษัทจำหน่ายเวลา (ไม่จำกัด) ได้รางวัลชนะเลิศ สำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี โดยในปีนี้มีเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 14 เรื่อง จากผลงานส่งเข้าประกวด 315 เรื่อง โดยจะได้รับจัดพิมพ์เป็นผลงานรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่อง “อ้อมกอดรักผู้พิทักษ์เวลา” โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. นอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ให้บริการด้านพิพิธภัณฑ์ ยังมีกิจกรรมและการแข่งขัน เพื่อให้เยาวชนมีความรักและสนใจในวิทยาศาสตร์ เช่น กิจกรรมการเขียนเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน แสดงให้เห็นถึงพลังของการมีส่วนร่วมในการให้ความสำคัญกับการเขียน การอ่าน โดยในปีนี้มีความพิเศษในการเพิ่มประเภทเยาวชน อายุ 12 -18 ปี เข้ามาแข่งขัน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้จินตนาการมาผนวกเข้ากับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และกลั่นออกมาเป็นเรื่องสั้นจนสามารถส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ได้

คุณกนกวลี พจนปกรณ์ กันไทยราษฎร์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วรรณกรรมเป็นสิ่งสร้างแรงบันดาลใจ และส่งเสริมให้เยาวชนได้สื่อสารเรื่องวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น อย่างในช่วงแรก ๆ ที่จัดการประกวดแข่งขัน เนื้อหาที่ส่งเข้าประกวดค่อนข้างที่จะมีความจำเพาะเจาะจงในเรื่องวิทยาศาสตร์ จนมาถึงครั้งที่ 5 นี้ ปัจจุบันนักเขียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อเรื่องเข้ากับชีวิตประจำวัน และผูกเข้ากับประเด็นสังคมมากขึ้น แทนที่จะออกไปนอกโลกอย่างเดียว ในฐานะผู้เขียนหนังสือเช่นกันรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมากหากผู้อ่านได้อ่าน แล้วสร้างแรงบันดาลใจให้รู้สึกรักวิทยาศาสตร์ขึ้นมา และหวังว่าการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์จะยังคงได้จัดต่อไปเรื่อย ๆ

รศ.ดร.ภก. เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ถือเป็นโครงการที่ดีมีแนวคิดที่หลากหลาย โดยเฉพาะในปีนี้ได้เพิ่มประเภทการแข่งขันระดับเยาวชน อายุ 12 -18 ปี ซึ่งเยาวชนในช่วงอายุนี้ จะมีจินตนาการที่กว้างไกลแบบไม่มีข้อจำกัด หากเราให้เยาวชนได้ซึมซับได้อ่านและมีประสบการณ์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้น ต่อไปในอนาคตเยาวชนกลุ่มนี้ก็จะมีแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย

สำหรับผลการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รุ่นเยาวชน รุ่นประชาชนทั่วไป และสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี รวมทั้งหมด 14 รางวัล ได้แก่

รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ รุ่นเยาวชน รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “The assassination of a human candidate” โดย นายบุญอนันต์ กุนทรวรินทร์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง “ผู้แสวงหาความทุกข์” โดย นายอภิสิทธิ์ บุญชู รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง “บนประเทศสีส้มคลีเมนไทน์” โดย นางสาวพัชรพร ศุภผล รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “ในวันที่ท้องฟ้าเป็นสีพาสเทล” โดย นางสาวเนตรชนก ปลูกปานย้อย และผลงานเรื่อง “โบยบิน” โดย นางสาวรินรดา คงพิบูลย์กิจ

รางวัลเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ รุ่นประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “Love is… AI” โดย นายพรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์ นามปากกา จัตวาลักษณ์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง “จะออกไปกอดแมว” โดย นายนฤพนธ์ สุดสวาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง “The Executioner” โดย ณัฏฐ์ มฤศโชติ รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “นักออกแบบภูมิทัศน์แห่งความตาย” โดย สุธี เหรียญถาวรจิต และผลงานเรื่อง “AWAKENING” โดย อนุสรณ์ นิมิตประทุม

รางวัลเรื่องสั้นแนวสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “บริษัทจำหน่ายเวลา (ไม่จำกัด)” โดย รติธรณ ใจห้าว รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง “จงเป็นมนุษย์” โดย นายกิตติศักดิ์ คงคา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง “Mars ดาวอังคาร” โดย คีตาญชลี แสงสังข์ รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “เด็กหญิงนิทรา” โดย นางสาวอิษบู สายสิน

ผศ.ดร.รวินฯ กล่าวทิ้งท้าย เรื่องสั้นที่ถูกรวบรวมไว้ในหนังสื่อเรื่อง “อ้อมกอดรักผู้พิทักษ์เวลา” มีเนื้อหาสนุกสนาน สามารถนำไปต่อยอดเป็น ภาพยนตร์ การ์ตูน บอร์ดเกมส์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของการสื่อสารส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมตื่นรู้ด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป สำหรับผู้สนใจสามารถรอติดตามอ่านผลงานรวมเล่มได้ในเดือนกันยายน 2563 ที่ร้านขายหนังสือนานมีบุ๊คส์ ร้านขายของที่ระลึกของ อพวช. และในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ