สคบท. เสนอทางรอดคุณภาพบัณฑิตศึกษาในวิถีชีวิตใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย

อังคาร ๐๑ กันยายน ๒๐๒๐ ๐๙:๔๙
สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) ระดมความคิดจากสมาชิกพร้อมยื่นข้อเสนอแนวทางการปรับรูปแบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาหลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด 19 ปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนควบคู่งานวิจัยพร้อมสนับสนุนแหล่งทุน เน้นความร่วมมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสู่มาตรฐานเครดิตแบ็งค์ เพิ่มคุณค่าและต่อยอดองค์ความรู้สู่มาตรฐานสากลด้วยการจัดระบบฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทย ขณะที่กลุ่มราชภัฏเน้นผลิตบัณฑิตคุณภาพสร้างงานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น ระหว่างการประชุม สคบท. ครั้งที่ 2/2563 โดยมี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ผศ.ร.ต.หญิง ดร.วรรณี ศุขสาตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ประธานสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) กล่าวว่า “ในที่ประชุมมีการพูดถึงปัญหาผลกระทบจากการลดจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ส่งผลต่อปริญญาโทและปริญญาเอก มีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาในที่ประชุม 3 แนวทาง ดังนี้

ปรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สู่รูปแบบมหาวิทยาลัยเชิงวิจัยเพื่อใช้งานในอนาคตมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดวิชาการและพัฒนาประเทศได้ด้วย ในขณะที่สาขาวิชาเฉพาะด้านที่อาจไม่ได้รับความนิยม แต่เป็นศาสตร์ที่ต้องรักษา อาทิ สาขาที่มีคุณค่าในเชิงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติ ต้องคงอยู่ เพื่อรักษาความเป็นชาติและองค์ความรู้ของมนุษยชาติต่อไปได้ ทั้งนี้ เป็นเรื่องของนโยบายภาครัฐที่ต้องหันมาสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน ไม่ใช่สถาบันการศึกษาเพียงลำพัง ทางรอด คือ การหาทุนสนับสนุนและปรับรูปแบบให้นักศึกษาร่วมทำงานวิจัยกับคณาจารย์ ทำให้บัณฑิตที่ออกมาสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ทันที สคบท. มีส่วนส่งเสริมด้วยการช่วยหาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาให้มากขึ้นการสร้างเครือข่ายบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อนักศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิต่างชาติ รวมถึงเวทีสัมมนานานาชาติเอง ทำให้ต้องเพิ่มช่องทางการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีมาตรฐานสูง ข้อดี คือ สร้างโอกาสในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดให้สถาบันของมหาวิทยาลัยที่พร้อมเรื่องเทคโนโลยีมากกว่า มาชิงจำนวนนักศึกษาของไทยด้วย ดังนั้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน และพัฒนาสู่การเรียนแบบ double degree คือ ได้วุฒิการศึกษา 2 สถาบัน และสร้างระบบ credit bank จะช่วยให้บัณฑิตได้ประโยชน์มากขึ้นด้วยยกระดับมาตรฐานบัณฑิตศึกษาไทยด้วยการเพิ่มช่องทางออนไลน์ การเข้าถึงระบบฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทยให้ประชาชนและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเข้าถึงได้ ผ่านเว็บไซต์ สคบท. และศึกษาแนวทางการแก้ไขระเบียบการเรียนออนไลน์ในอนาคต หลังสถานการณ์โควิด 19 เนื่องจากมีแนวโน้มที่นักศึกษาอาจต้องการให้จัดการเรียนการสอนออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง สคบท. จะนำประเด็นนี้ไปศึกษาและเสนอแนวทางให้กับ อว. และสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของงานวิจัยจากกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผศ. ดร. ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะเจ้าภาพการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21” ในเดือนมกราคม 2564 ได้กล่าวว่า “ปัจจุบัน การพัฒนาบัณฑิตศึกษาของไทย ถ้าเรานิ่งหรือทำอะไรเหมือนเดิมคงไม่ได้แล้ว กลุ่มของราชภัฏเองมีการปรับวิสัยทัศน์ พัฒนาความโดดเด่นของแต่ละราชภัฏและนำเทคโนโลยีมาใช้ เน้นผลิตบัณฑิตให้สร้างงานวิจัยภายใต้แนวคิด “งานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่” ด้วยความใกล้ชิดและมีรากฐานในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นนโยบายหลัก สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนได้โดยตรง ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของบัณฑิตที่มีความเก่งในการวิจัยเชิงพื้นที่ของท้องถิ่นตนเอง ในขณะเดียวกัน เราก็เพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีจากราชภัฏสู่ท้องถิ่นให้ใช้ประโยชน์สร้างสรรค์เพื่อชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ตั้งเป้าสู่การเป็น SMART UNIVERSITY พัฒนาศักยภาพทั้งผู้เรียนและ ผู้สอนครบด้าน จึงเพิ่มเติมข้อกำหนดให้คณาจารย์รวมทีมสร้างงานวิจัย เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ของแต่ละสาขามาทำงานร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการหาแหล่งทุนให้ทั้งจากภาครัฐส่วนกลางและองค์กรท้องถิ่น ระดมความช่วยเหลือให้เกิดงานวิจัยที่สร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

นอกจากนี้ ดร.คณกร สว่างเจริญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวเชิญชวนว่า “สำหรับผู้สนใจร่วมงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21” (Multidisciplinary for Innovation Development in 21st Century) ในวันที่ 15 มกราคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) และการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) สามารถส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้ง 2 หมวด ได้แก่ ด้านการศึกษา / วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ ด้านการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / วิทยาการจัดการ สามารถส่งบทความได้ที่ http://grad.bsru.ac.th/conference/ หมดเขตวันที่ 30 กันยายน 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2473-7000 ต่อ 1814”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ