3 คณาจารย์คุณภาพ วิศวะฯ ม.ศรีปทุม คว้ารางวัล “บทความวิจัยดีเด่น สาขาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน”

อังคาร ๐๑ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๐:๔๖
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอแสดงความยินดีกับ 3 คณาจารย์คุณภาพ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ ผศ.ดร.ชิษณุ อัมพรายน์ ,ดร.โยธิน มัชฌิมาดิลก และอาจารย์สุรพันธ์ สันติยานนท์ ในโอกาสได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล บทความวิจัยดีเด่น สาขาวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน “บทความ INF04” เรื่อง การหาความสัมพันธ์ของพื้นที่ถนนกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการวางผังเมืองรวมด้วยแบบจำลองต้นไม้เพื่อการตัดสินใจ จากคณะกรรมการการจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (วิศวกรรมโยธากับโครงการเขตพัฒนากิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อการพัฒนาอย่างยั้งยืน) โดยบทความได้ผ่านการนำเสนอในการประชุมออนไลน์ และเผยแพร่ลงในเอกสารประกอบการประชุมฉบับสมบูรณ์ของการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติฯ

ซึ่งจัดการประชุมโดย คระกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะเทคโนโลยีอุคสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี เมื่อเร็วๆนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ