สสค.อุดรธานี สร้างองค์ความรู้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไปในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก

อังคาร ๐๑ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๔:๔๘
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมประจักษ์ตราดีไซน์ อุดรธานี สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี จัดโครงการอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน

นายชัยวัธน์ ศรมณี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี (สค.อุดรธานี) เปิดเผยว่าเนื่องจากวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันที่สมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อยุติการใช้แรงงานเด็กทั่วโลก โดยกำหนดให้วันนี้เป็นวัน “วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก” โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 182 ว่าด้วยการห้ามและการดำเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมีบทบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องกำหนดและปฏิบัติตามแผนดำเนินการเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วน ประเทศไทยได้กำหนดให้มีนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย พ.ศ. 2558 - 2563 ซึ่งเป็นแผน ฉบับที่ 2 ที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์ ป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูเด็กทุกคนในประเทศไทยที่อาจตกอยู่ในสภาวะการถูกใช้เป็นแรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด โครงการอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก จึงถือเป็นการสร้างความตะหนักรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาการใช้แรงงานเด็กในประเทศไทย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี มีภารกิจในการคุ้มครองแรงงาน จึงได้จัดโครงการอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ อันเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศในการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายให้หมดสิ้นไป

นายชัยวัธน์ ศรมณี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี (สค.อุดรธานี) กล่าวต่อไปว่า ปัญหาแรงงานเด็ก เป็นปัญหาสังคมที่มีผลกระทบมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่ขาดความสมดุล การป้องกันและแก้ไข จึงต้องมีมาตรการที่เป็นระบบและครบวงจร ตั้งแต่การรณรงค์มิให้เด็กต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันควร การสร้างโอกาส และทางเลือกในการศึกษา และการประกอบอาชีพแก่แรงงานเด็ก การป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง จนถึงการคุ้มครองมิให้มีการใช้แรงงานเด็กที่ไม่เป็นธรรม อันเป็นการดำเนินมาตรการทั้งในเชิงป้องกัน คุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนา และเน้นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนดึงเอาชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ