การก้าวสู่ความสำเร็จระดับ Quantum Advantage ซึ่งก็คือจุดที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถประมวลผลงานบางอย่างได้มีประสิทธิภาพและคุ้มทุนมากกว่าเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิคนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยวงจรควอนตัมที่ได้รับการพัฒนาไปอีกขั้น ซึ่งส่วนนี้นับเป็นตัวจักรสำคัญที่จะนำสู่การนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมไปใช้งานจริง Quantum Volume วัดได้จากความยาวและความซับซ้อนของวงจร โดยยิ่งมี Quantum Volume สูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีศักยภาพในการค้นหาคำตอบให้กับปัญหาต่างๆ ในโลกของเรา ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และการวิจัย มากขึ้นเท่านั้น
ไมล์สโตนความสำเร็จในครั้งนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทเจาะลึกที่เทคนิคและแนวทางการพัฒนาชุดใหม่ ที่ใช้องค์ความรู้ในด้านฮาร์ดแวร์ในการทำให้วงจร Quantum Volume สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วิธีการแบบ hardware-aware นี้สามารถขยายได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวงจรควอนตัมใดก็ตามที่รันบนระบบ IBM Quantum ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถดำเนินการทดลองและประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เทคนิคเหล่านี้จะพร้อมใช้งานในรุ่นและในการปรับปรุงที่กำลังจะมาถึงของบริการซอฟต์แวร์ IBM Cloud รวมถึงชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) โอเพนซอร์สแบบข้ามแพลตฟอร์ม Qiskit
"เราพยายามค้นหาวิธีการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาในการก้าวข้ามขีดจำกัดของระบบที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถประมวลผลวงจรควอนตัมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและความซับซ้อนมากขึ้น และสามารถไปถึงความสำเร็จระดับ Quantum Advantage ได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย" นายเจย์ แกมเบ็ตตา IBM Fellow และรองประธาน IBM Quantum กล่าว "แนวทางแบบ full-stack ของไอบีเอ็มถือเป็นแต้มต่อทางนวัตกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาแอพพลิเคชันแบบ hardware-aware รวมถึงอัลกอริธึม และวงจรต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำงานบนกลุ่มคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ครอบคลุมและทรงพลังมากที่สุดในอุตสาหกรรม"
ทีมงาน IBM Quantum ได้เล่าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาทางเทคนิคแบบ full stack เพื่อเพิ่ม Quantum Volume ให้ถึงระดับ 64 ในเอกสารชุดก่อนตีพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่บน arXiv ดังนี้
ไฮไลต์เกี่ยวกับ IBM Quantum
ไอบีเอ็มประสบความสำเร็จในการเพิ่ม Quantum Volume ถึงระดับ 64 บนระบบขนาด 27 คิวบิตที่ติดตั้งอยู่ใน IBM Q Networkคอมพิวเตอร์ควอนตัม 28 ระบบได้รับการติดตั้งใช้งานอยู่บน IBM Cloud ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา โดยที่แปดระบบจากทั้งหมดมี Quantum Volume ที่ระดับ 32IBM Q Network มีสมาชิกองค์กร หน่วยงานภาครัฐ สตาร์ทอัพ พันธมิตร มหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมรวม 115 แห่งมีผู้ที่ลงทะเบียนใช้งาน IBM Quantum Experience แล้วมากกว่า 250,000 คนในแต่ละวัน มีผู้ใช้เข้าประมวลผลวงจรฮาร์ดแวร์มากกว่า 1 พันล้านรายการบนระบบ IBM Quantum ที่อยู่บน IBM Cloudนักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานแล้วมากกว่า 250 ชิ้น จากงานที่ทำบนระบบ IBM Quantum