6 เทคนิคสำหรับผู้สูงวัยในการเผชิญหน้า ภาวะนอนหลับยาก

พุธ ๐๙ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๕:๐๐
นอนหลับยากอาจเป็นปัญหาน่าปวดหัว ทรมานของผู้สูงวัยหลายๆท่าน หลายครั้งอาจไม่หนักหนา ไม่ได้เป็นโรคแค่อาจทำให้รู้สึกรำคาญ ไม่สบายใจ แต่หากมันรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน รู้สึกอ่อนเพลีย กังวลมากๆ ควรจัดการอย่างรวดเร็วนะครับ

หมอสังเกตว่าผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องนอนหลับยากอาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในด้านการนอน

ทำให้หลับตื้นขึ้นนอกจากนี้ความต้องการของร่างกายที่ต้องการหลับยาวๆลดลง ให้ท่านสังเกตว่ามีอาการง่วงนอน อ่อนเพลียในตอนกลางวันหรือไม่ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าน่าจะหลับได้เพียงพอแล้วครับ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงตามวัยคือ เข้านอนเร็วกว่าปกติ เช่น เข้านอนตอน 2-3 ทุ่ม และตื่นเช้าเร็วกว่าปกติ เช่นตื่นตอนตี 2 หรือ ตี 3 แล้วไม่หลับอีกแล้ว ก็อาจทำให้รู้สึกว่านอนไม่หลับแต่จริงๆแล้วเพียงพออยู่นะครับมีอาการไม่สบายทางกาย ใจและอารมณ์

หลายคนมีความเครียด คิดกังวลมากหรือมีอาการซึมเศร้าเบื่อหน่ายก็อาจทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน ผู้สูงอายุอาจมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาในตอนดึกแล้วหลับต่อได้ยาก เช่น มีอาการปวดหลัง เอวตอนนอน หรือลุกปัสสาวะบ่อยได้รับยาบางชนิด

อาจเกิดจากการกินยาบางชนิดที่พบบ่อย เช่น ยาแก้คัดจมูก ยาขยายหลอดลม ยาขับปัสสาวะ ยาไทรอยด์ ยารักษาโรคซึมเศร้าบางตัว นอกจากนี้การนอนพักผ่อนมากเกินไปในตอนกลางวัน หรือการดื่มชาและกาแฟมาก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกันนะครับ

วันนี้หมอมี 6 วิธีมาแนะนำในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวดูครับ

สร้างตารางสุขนิสัยใหม่

ทำกิจกรรมต่างๆเป็นเวลาที่แน่นอนมากขึ้น ทั้งรับประทานอาหาร ทำงาน ออกกำลัง เข้าห้องน้ำ รับประทานยา รวมถึงการเข้านอนด้วย การทำให้วงจรชีวิตมีนาฬิกาภายในตัวที่เดินอย่างเป็นระบบระเบียบจะทำให้ปัญหาการนอน การกลับพักผ่อนดีขึ้นด้วยไม่มากก็น้อยครับปรับสิ่งแวดล้อมในช่วงเข้านอน

ลดสิ่งบันเทิง อึกกะทึกครึกครื้นมากๆช่วงเย็นๆและหัวค่ำ ปรับอากาศให้เย็นๆ สบายๆ ไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นหอมอ่อนๆก็จะช่วยได้มากครับลดกิจกรรมทางกายช่วงเย็นๆ

เช่นการออกกำลังหนักๆ กิจกรรมที่ตื่นเต้น โลดโผน หักโหม … ไม่ดีแน่ๆ มันจะทำให้ท่านตื่นตัวส่งผลมาถึงยามดึกๆแน่นอนงีบหลับในช่วงสายๆแทนช่วงเย็น

หากจำเป็น ง่วงจริงๆ ขอเป็นช่วงที่ไกลออกจากเวลานอนตอนกลางคืนหน่อยครับ ทำให้สมองได้ไปพักช่วงนั้นแทนที่จะปิดสวิตช์ใกล้ๆเวลาที่จะได้พักยาวๆงดชากาแฟหลังอาหารเที่ยง

เพราะคาเฟอีนอาจส่งผลให้ตื่นตัวยาวมาถึงช่วงหัวค่ำหรือช่วงจะเข้านอนได้นะครับ อาจยังรวมไปถึงน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน รวมถึงบุหรี่ด้วยนะครับผ่อนคลายจากงานความเครียดตั้งแต่เลิกงาน

ผ่อนคลายจิตใจ ภาระงาน ความตึงเครียดลง cool down ลงช้าๆ อาจนวดขมับของท่านเองเบาๆ คลึงกล้ามเนื้อรอบดวงตา กล้ามเนื้อต้นคอ บ่าไหล่อย่างเบาๆ มือ ก็ทำให้ร่างกายสบายขึ้น หลีกเลี่ยงการนำงานมาทำต่อที่บ้านดึกๆดื่นๆนะครับ คงไม่ดีต่อสุขภาพครับ

หมอหวังว่าท่านอาจลองนำไปปรับใช้เป็นเทคนิคสั้นๆที่หมอเคยลองแนะนำหลายท่านไปแล้วได้ผลดี จึงอยากนำมาแบ่งปันครับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท โรงแรมที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคุณ
๑๗:๑๔ คอนติเนนทอล เปิดตัวเทคโนโลยี Ac2ated Sound เมื่อหน้าจอแสดงผลสามารถส่งเสียงได้ !
๑๗ เม.ย. ออปโป้ชวนสัมผัสความงามประเพณีไทย ผ่านภาพพอร์ตเทรต จากวิดีโอสารคดี สีสันใหม่ ในวันสงกรานต์
๑๗ เม.ย. ล้ำไปอีกขั้น. ไฟน์ไลน์ซักผ้าเข้มข้น ดีลักซ์ เพอร์ฟูม คริสตัล บูเก้ มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ Charming Booster
๑๗ เม.ย. Phytomer Thailand เปิดตัวทรีทเม้นท์สำหรับผิวคนในเมืองที่จะต้องเผชิญภาวะฝุ่นละออง PM 2.5
๑๗ เม.ย. เตรียมล็อคคิว หลิง-ออม ชวนแฟน ๆ ร่วมเบิร์ดเดย์ LINGORM BIRTHDAY CHARITY 2025 กดบัตร 20 เม.ย. นี้
๑๗ เม.ย. โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core
๑๗ เม.ย. กรมการท่องเที่ยว ชวนผู้ประกอบการไทยอบรมออนไลน์ รู้ลึก เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง Home Lodge
๑๗ เม.ย. MOTHER ส่งซิกผลงาน Q1/68 เริ่ด!
๑๗ เม.ย. บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 ฉายวิสัยทัศน์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ก้าวสู่เป้าหมาย Net