TPIPP เตรียมพร้อมแผนรองรับธุรกิจโรงไฟฟ้า เร่งเครื่องประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะกว่า 75 MW ในปีนี้ ส่งซิกผลงาน Q3/63 ทำสถิติสูงสุด

พฤหัส ๑๐ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๒:๕๑
บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์’ หรือ TPIPP ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งรายใหญ่ของไทย ส่งซิกผลการดำเนินงานในปี 2563 เติบโต หลังติดตั้ง Boiler ครบ ผลักดัน Utilization Rate ให้เพิ่มเป็น 95-100% พร้อมเร่งเครื่องประมูลโครงการโรงไฟฟ้าขยะกว่า 75 MW ในปีนี้

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน TPIPP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อม เพื่อรักษาฐานกำไรให้อยู่ระดับสูง โดยการเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอย่างต่อเนื่อง หลังภาครัฐมีแผนเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะทั่วประเทศ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 400 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตติดตั้งต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ (VSPP) จำนวน 30 โครงการ และโรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10-40 เมกะวัตต์ (SPP) จำนวน 5-10 โครงการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 600 เมกะวัตต์

TPIPP ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าในปีนี้ อย่างน้อย 3-4 โครงการ กำลังการผลิตตามสัญญาขายไฟฟ้าโครงการละ 8-10 MW ซึ่งได้รับค่ากำจัดขยะ 400-500 บาท/ตัน ปัจจุบันบางโครงการได้ประกาศ TOR แล้วและอยู่ระหว่างรอยื่นประมูลโครงการ และบางโครงการอยู่ระหว่างสรุปเงื่อนไขสุดท้ายของ TOR โดยคาดว่าทุกโครงการจะสามารถรู้ผลการประมูลภายในสิ้นปี 2563 นี้ ซึ่ง TPIPP มีความมั่นใจ เนื่องจากทางบริษัทมีความพร้อมทั้งด้าน เทคโนโลยี เงินทุน และประสบการณ์ ซึ่งแต่ละโครงการดังกล่าวจะสร้างผลตอบแทนประมาณ 300-400 ล้านบาท ต่อปี

“นอกจากนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงแปรรูปขยะ (RDF) ที่จังหวัดสระบุรี เพื่อรองรับความต้องการใช้ RDF ที่สูงขึ้น โดยบริษัทฯ ได้ยื่นขอขายไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะกำลังการผลิต 40 MW ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย คาดว่าจะรู้ผลในต้นปีหน้า

โครงการที่กล่าวมาข้างต้น คาดว่าจะมีผลตอบแทนการลงทุนของโครงการ (IRR) ประมาณ 15-20% โดยปัจจุบัน TPIPP มีความพร้อมเรื่องฐานะการเงินที่มั่นคง ด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ต่ำเพียง 0.42 เท่า โดยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานและกระแสเงินสดในมือสูง ส่งผลให้ TPIPP มีศักยภาพในการลงทุนเพิ่มเติมโดยสามารถใช้ Leverage เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น มีความได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรม และมีโอกาสสร้างการเติบโตจากการเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมได้อีกหลายโครงการ”.นายภัคพล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ