การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแต่ละวิธีนั้น ก็เหมาะสมกับอาการของคนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน อาการของคนไข้ว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อมในระดับไหน แล้วจึงสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับอาการและคนไข้นั้น ๆ ได้ อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งในปัจจุบัน วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่เป็นนิยมและยอมรับในเรื่องผลของการรักษานั้น มีอยู่ 4 วิธี
การรักษาด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น - PRP การรักษาด้วยเกล็ดเลือดเข้มข้น เป็นเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ โดยช่วยฟื้นฟูเส้นเอ็น ข้อและกระดูกอ่อน เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเข้ากับกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาติ ของ ร่างกาย การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้น ยังสามารถรักษาอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับข้อและกล้ามเนื้อ ได้แก่ โรคข้อเข่าเสื่อม ไขข้ออักเสบ เอ็นข้อเข่าอักเสบ เอ็นข้อไหล่ฉีก เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เอ็นอักเสบที่ข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow) เอ็นอักเสบที่ข้อศอกด้านใน (Golfer Elbow) การบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อการส่องกล้องข้อเข่า - Knee Arthoplastry การส่องกล้องข้อเข่า (Knee Arthoplastry) หรือการผ่าตัดส่องกล้องรักษาข้อ คือการผ่าตัดภายในข้อ โดยใช้กล้อง ขนาดเล็กส่องเข้าไปในข้อ เป็นวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองข้อเข่า (meniscus) หรือ กระดูกอ่อนหลวม (loose bodies) หรือมีแผ่นเนื้อ (flap) ทำให้ข้อเหยียดหรืองอไม่ได้การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน - UKA การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty - UKA) คือ การผ่าตัดเอาผิวข้อ เข่าเฉพาะส่วนที่เสื่อมออก โดยเก็บรักษาผิวข้อเข่าและเส้นเอ็นในส่วนที่ยังอยู่ในสภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเทียมเพียง บางส่วน ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้สามารถใช้ข้อเข่าได้ดีใกล้เคียงธรรมชาติ เช่น นั่งกับพื้น นั่งยอง ๆ พับเพียบ ขัดสมาธิ รวมทั้งวิ่ง หรือ ออกกำลังกายได้การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ - TKA การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer assisted surgery in total knee arthroplasty) คือ การนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสร้างภาพ ของข้อเข่าที่จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม โดยการป้อนข้อมูลให้แก่ คอมพิวเตอร์ในขณะทำการผ่าตัด ให้ได้ภาพ digital model ที่มีลักษณะเฉพาะเหมือนข้อเข่าของคนไข้ในแต่ละราย ช่วยให้ แพทย์ได้ทราบตำแหน่งที่จะ วางผิวข้อเข่าได้ถูกต้อง ลดการเกิดข้อผิดพลาดหรือภาวะ แทรกซ้อนจากการผ่าตัด ทำให้สามารถ ใช้งานข้อเข่าเทียม ได้ดีใกล้เคียงเข่าธรรมชาติ และช่วยยืดอายุการใช้งาน ข้อเข่าเทียมได้นานขึ้น
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ: ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสุขุมวิท โทร. 02-391-0011 ต่อ 110 , 111