M?BIUS เป็นแพลตฟอร์มการธนาคารแบบเปิดเชิงกลยุทธ์โดย Silverlake ได้รับรางวัล เทคโนโลยีดิจิตัลที่เป็นฟีเจอร์การแสดงผลทางหน้าจอให้แก่ผู้ใช้บริการ ที่ได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับในการประมวลผลระบบการทำงานพื้นฐานของธนาคารทั้งหมด เพื่อสร้างแพลตฟอร์มแบบ end-to-end ที่เป็นระบบดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับการธนาคารพาณิชย์
นับเป็นครั้งแรกที่ M?BIUS เป็นผู้ให้บริการด้านการธนาคารหลักรายใหญ่ ที่ได้รวมเอาความสามารถด้านดิจิทัลในการเข้าหาลูกค้า เพื่อสร้างแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบเปิดและครบวงจรสำหรับการธนาคารพาณิชย์
สิ่งที่ Silverlake Axis ประสบความสำเร็จผ่าน M?BIUS คือช่วยให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมสามารถนำระบบธนาคารหลักของตนข้ามไปยังแพลตฟอร์มของ M?BIUS ซึ่งจะช่วยให้พวกเขารวมการดำเนินงานทั้งหมดเข้ากับแพลตฟอร์มหลักเดียวได้อย่างสมบูรณ์
อุตสาหกรรมการธนาคารก็เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องเจอปัญหา ทำความเข้าใจและวางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งเหล่านี้ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละสถานที่ของธุรกิจนั้นๆ ในการอภิปรายหลักของพวกเขาที่ AFS Congress คุณ ชู ซู ชิง (Choo Soo Ching) กรรมการผู้จัดการบริษัทซิลเวอร์เลค ดิจิตัล อิโคโนมี ( Silverlake Digital Economy) และ คุณ ไซรัส ดารุวาลา(Cyrus Daruwala) กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอดีซี ไฟแนนชัล อินไซด์ (IDC Financial Insights) เห็นพ้องกันว่าธนาคารในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย พร้อมจะพลิกเกมส์ธุรกิจใหม่ด้วยการสร้างแผนการตลาดเชิงรุก 2 แผน ดังนี้
การสร้างแหล่งรายได้ใหม่โดยการสร้างระบบนิเวศที่เชื่อมต่อกัน สร้างรายได้จากข้อมูลและทำให้การธนาคาร (และทำงานให้กับธนาคาร) เป็นประสบการณ์ที่ 'แตกต่าง’ โดยสิ้นเชิงการเร่งขีดความสามารถทางดิจิทัลของพวกเขาด้วยการสร้างธนาคารที่มีพลวัต ว่องไวและเชื่อมต่อกัน ซึ่งต่อจากนี้ก็จะพร้อมรับมือกับปัญหาต่างๆจากทั่วทุกมุมโลก
จากความไม่แน่นอนของผลกระทบจากวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ส่งผลกระทบต่อความเร็วและเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และทดสอบความสมบูรณ์และความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์มใหม่ของการธนาคารหลักทางดิจิทัล การเปิดตัวของ M?BIUS เป็นไปอย่างทันท่วงที เนื่องจากแพลตฟอร์ม M?BIUS ได้ส่งมอบโครงสร้างระบบการทำงานของธนาคารที่หลากหลายของ Silverlake ในเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟและเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่ทันสมัย
M?BIUS ช่วยให้ธนาคารในสังกัดสามารถรวมบริการลูกค้าในอุตสาหกรรมมาตรฐานซึ่งสามารถนำมาซึ่ง “การคิดนอกกรอบของ M?BIUS” ผนวกกับนวัตกรรมที่กำหนดค่าได้ "ไร้รหัส" (no-code) บริการส่วนบุคคล นิเวศบริการ และการปฏิรูประบบบริการที่ถูกสร้างบน M?BIUS ที่ได้รับการสนับสนุนพัฒนาจาก DEVOPS ทั้งหมดได้รับการบรรจุและปรับให้เหมาะสมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ต่อสาธารณะ ส่วนตัว หรือไฮบริดที่ธนาคารเลือก
การศึกษาวิจัยอย่างละเอียดซึ่งนำโดย IDC ที่มีธนาคารมากกว่า 100 แห่งในภูมิภาคนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงนี้ ในปาฐกถาพิเศษของเขาในงาน AFS Congress นาย Andrew Tan กรรมการผู้จัดการกลุ่ม Silverlake Axis ยอมรับว่านี่เป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับธนาคารในการประเมินเชิงกลยุทธ์และปรับปรุงระบบธนาคารหลักที่มีอยู่ให้เป็นระบบที่คล่องตัวเชื่อมต่อและรองรับอนาคตได้มากขึ้น
“ธนาคารบอกเราว่าพวกเขากำลังคิดทบทวนรูปแบบธุรกิจใหม่อยู่แล้วและกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตรงประเด็น เพราะตอนนี้เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมกำลังเปิดกว้างอีกครั้ง” คุณแอนดรูว์กล่าว
“ในฐานะ 'พันธมิตร’ ที่มีประสบการณ์อย่างแท้จริงกับแพลตฟอร์มที่ผ่านการทดสอบและพิสูจน์แล้ว การปลูกฝังความรู้จะเป็นหัวใจสำคัญในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนี้” เขากล่าวเสริม
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Silverlake Axis ได้ที่ www.silverlakeaxis.com
เกี่ยวกับ Silverlake Axis
Silverlake Axis สร้างเทคโนโลยีเพื่อเปิดใช้งาน Digital Economy (การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยการนำเอาไอทีหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต) สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างคือรากฐานสำหรับหลักการคำนวณของเราซึ่งมีพื้นฐานมาจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา Silverlake Axis ได้พัฒนาโดยใช้คณิตศาสตร์เพื่อปรับแต่ง ขยายและคิดค้นเทคโนโลยีขยายไปสู่อุตสาหกรรมและตลาดใหม่ ๆ ในเวลาเดียวกัน
นอกเหนือจากจุดแข็งของเราในระบบธนาคารหลักแล้ว Silverlake Axis ได้คิดค้นความสามารถของเราขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางของ Digital Economy รวมทั้งช่วยให้สามารถเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพและความคล่องตัวทางธุรกิจได้
ปัจจุบันมีรายชื่ออยู่ใน Singapore Exchange Mainboard มากกว่า 40% ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 20 อันดับแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้หลักการแก้ปัญหาธนาคารของ Silverlake Axis วันนี้ Silverlake Axis เป็นพันธมิตรแพลตฟอร์มระบบหลักที่เป็นทางเลือกสำหรับสถาบันการเงินระดับซูเปอร์ของภูมิภาคอาเซียนที่ใหญ่ที่สุด 3 ใน 5 แห่ง Silverlake Axis ยังคงนำเสนอข้อเสนอเศรษฐกิจดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรมและการแก้ปัญหาระดับองค์กรให้กับลูกค้าในระบบธนาคาร การประกันภัย การค้าปลีก การชำระเงินและระบบโลจิสติกส์ (ระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า)