'ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น’ ผนึกกำลังวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มทร.ตะวันออก ตั้ง Academy ปั้นบุคลากรรุ่นใหม่รองรับอุตสาหกรรม New S-Curve ในพื้นที่ EEC

จันทร์ ๑๔ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๔:๐๐
'ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น’ ร่วมมือกับสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มทร.ตะวันออก พัฒนาหลักสูตรการเรียน ก่อตั้ง Academy บ่มเพาะบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation) รองรับอุตสาหกรรม New S-Curve ในพี้นที่โครงการ EEC โชว์ศักยภาพคว้างานโครงการวางระบบหุ่นยนต์ AMR ในโปรเจกต์ EEC Medical Hub หนุนเป้าหมายรายได้รวมปีนี้ 1,100 ล้านบาท เติบโต 25%

จากการที่ภาครัฐได้เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนำประเทศไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ อย่างโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภารกิจนี้ให้บรรลุเป้าหมาย โดยกำหนด 10+2 อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือ S-curve ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศมาร่วมลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการจะบรรลุตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศที่กล่าวมา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและแรงงานวิชาชีพเฉพาะทาง ที่มีทักษะตรงตามความต้องการของแต่ละภาคอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้ ทางภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ และภาคการศึกษา จึงต้องร่วมมือกันปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ให้มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการผลิตบุคลากรวิชาชีพคุณภาพมากขึ้น ล่าสุดจึงเกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ร่วมมือกันจัดตั้ง Academy เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

นางกัลยาณี คงสมจิตร ประธานกรรมการ บริษัททีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์เครื่องจักรขนาดใหญ่ และให้คำปรึกษาด้านการดูแลและซ่อมบำรุง ภายใต้แนวคิด 'Number 1 F.A. Solutions Provider in Thailand’ เปิดเผยว่า โปรเจกต์ Academy เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และ สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) ซึ่งจะครอบคลุมถึงการมาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ และหุ่นยนต์เพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และร่วมกันก่อตั้ง Academy หรือสถาบันบ่มเพาะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยยกระดับการผลิตบุคลากรด้านนี้ ให้มีทักษะที่สถานประกอบการต้องการ

ด้วยความเชื่อมั่นว่า แนวคิดจัดตั้ง สถาบัน Academy หรือสถาบันบ่มเพาะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ระหว่าง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และสถาบันการศึกษาผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ผลิตกำลังคนด้านนี้มาเป็นเวลานาน อย่าง สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มทร.ตะวันออก จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ระบบการศึกษาไทย และสามารถพัฒนาเป็นโมเดลต้นแบบ ตอบโจทย์การผลิตกำลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด

บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทย เพื่อรองรับการเติบโตของโครงการ EEC ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ไทยแลนด์ 4.0 ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาจะต้องมาร่วมมือกัน เร่งพัฒนาทักษะและความรู้แก่นักศึกษา สร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติอย่างแท้จริง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่โครงการ EEC

ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทฯ มีความตั้งใจและได้วางแผนว่าจะนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับแนวหน้าของประเทศ มาต่อยอดในการพัฒนาบุคลากรในระดับอุดมศึกษา และร่วมกับ สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มทร.ตะวันออกด้วยการ พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ และร่วมกันก่อตั้ง Academy หรือสถาบันบ่มเพาะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยที่ผ่านมา ทาง ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น มีความมั่นใจมาตลอดว่าภาคอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ

ปัจจุบัน เทคโนโลยี AGV (Automated Guided Vehicle) หรือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ โดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ได้ต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะแบบ Automated Mobile Robots หรือ AMR ในภาคอุตสาหกรรม สามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สแกนเนอร์ และระบบ GPS เพื่อกำหนดพิกัด ใช้ระบบ 5G เป็นตัวเชื่อมสัญญาณ ซึ่งในอนาคต คาดว่านวัตกรรมนี้จะเข้ามาพลิกโฉมรูปแบบและกระบวนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในที่สุด ด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนี้ บริษัทฯ จึงตั้งใจต่อยอดความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และบริษัทในเครือ (KSI Solution) มาสร้างประโยชน์ให้กับทั้งการพัฒนาภาคการศึกษาไทย และต่อการปรับใช้เทคโนโลยีมาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นด้วย

“ล่าสุดเราได้รับงานออกแบบและวางระบบหุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติในโครงการ EEC Medical Hub ศูนย์กลางทางการแพทย์ในพื้นที่ EEC โดยมีโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ซึ่งจะออกแบบและพัฒนาตามคอนเซปของการเป็น Digital Hospital หรือโรงพยาบาลจะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ AMR ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ขนส่งยา เวชภัณฑ์ จัดยา โดยใช้เทคโนโลยี 5G มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบริหารจัดการโรงพยาบาลแห่งนี้ทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่างานนี้กว่า 200 ล้านบาท คาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2567” นางกัลยาณี กล่าว

นายทัศพันธุ์ สุวรรณทัต หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ มทร.ตะวันออกตัดสินใจเปิด สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมเปิดอยู่แวดล้อมมหาวิทยาลัยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อภาคอุตสาหกรรมเติบโตในพื้นที่ภาคตะวันออก ผู้ปกครองของเด็กก็เห็นว่าอาชีพวิศวกรโรงงานมีโอกาสก้าวหน้า จึงต้องการส่งบุตรหลานมาเรียนด้านนี้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่

นอกจากนี้เทรนด์การจ้างงานในโรงงาน ในอดีตจะจ้างวิศวกรเครื่องกล 1 คน วิศวกรไฟฟ้า 1 คน วิศวกรระบบอุตสาหการอีก 1 คน อย่างไรก็ตามในระยะหลัง โรงงานอุตสาหกรรมได้แสดงความต้องการมายังภาคการศึกษาซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากร ให้ช่วยผลิตวิศวกรที่มีความสามารถครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ภายในบุคคลเดียว จึงเป็นเหตุให้ มทร.ตะวันออก เปิดหลักสูตรวิศวเมคคาทรอนิกส์ฯ ซึ่งเป็นศาสตร์ของวิศวกรรม ที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด

ดังนั้น เมื่อศาสตร์ด้านเมคคาทรอนิกส์ มาประสานกับศาสตร์เทคโนโลยีแห่งยุคอย่าง หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงทำให้หลักสูตรดังกล่าวสามารถผลิตบุคลากรที่สถานประกอบการเกือบทุกประเภทมีความต้องการ ประกอบกับจุดเด่นของหลักสูตรนี้ ที่จัดการเรียนการสอนร่วมกับทางภาคอุตสาหกรรมมาตลอด จนสามารถกล่าวได้ว่ามีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ

“จากความร่วมมือครั้งล่าสุดกับ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ผมมีความยินดีอย่างมากที่โปรเจกต์การก่อตั้ง สถาบัน Academy หรือ สถาบันบ่มเพาะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดไม่ใช่ใคร แต่เป็นเยาวชน ที่จะเป็นว่าที่บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” อาจารย์ทัศพันธุ์ กล่าว

โดยหลักสูตรที่ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และ มทร.ตะวันออก ได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก้าวสู่ตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในพื้นที่ EEC จะประกอบด้วยหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ หลักสูตร Programmable Logic Controller (PLC), หลักสูตร 3D Camera Vision System, หลักสูตร Robot control, หลักสูตร Autonomous Mobile Robots (AMR), หลักสูตร Automated Storage and Retrieval Systems (AS/RS), หลักสูตร Big data and Artificial Intelligence

สำหรับหลักสูตรที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นเน้นการสอนทักษะหลัก 3 ด้าน คือ ด้านเครื่องกล ผู้เรียนจะต้องเขียนแบบเครื่องกลได้ สามารถออกแบบเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ และดีไซน์เครื่องจักรขนาดเล็กรวมถึงเครื่องจักรระบบอัตโนมัติได้ด้วยซอฟแวร์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้และทำงานได้จากซอฟท์แวร์ที่แตกต่าง เมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถทำงานได้ทันทีในภาคอุตสาหกรรม

ประธานกรรมการ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น และบริษัทในเครือ ได้ตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2563 รวม 1,100 ล้านบาท เติบโต 25% จากปีที่ผ่านมา ปัจจัยจะมาจากการขยายฐานลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, ยานยนต์ ฯลฯ ที่ต้องการยกระดับกระบวนการผลิตสู่ระบบอัตโนมัติ โดยใช้จุดแข็งของบริษัทฯ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในองค์กร โดยพัฒนาระบบ Robot Processing Automation (RPA) หรือระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติช่วยจัดการระบบการทำงานเบื้องหลังต่างๆ ภายในออฟฟิศ (Back-office) เช่น ระบบบัญชี การออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) จะทำให้บริษัทฯ สามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่ออัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขยายงานได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนบุคคากรในสำนักงานอย่างรวดเร็ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ