ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ครั้งที่ 8/2563 ผ่านความเห็นชอบโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน ภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Transformation Fund) เพิ่มเติมจำนวน 14 โครงการ จากเดิมที่ผ่านความเห็นชอบและเริ่มดำเนินการแล้ว 14 โครงการ จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนี้ที่ 35 โครงการ โดยโครงการที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมฯ แบ่งเป็น
โครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีระบบ ERP และ MRP จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการแอปพลิเคชันส่งเสริมโรงงานน้ำพริกในยุคดิจิทัล โดย บริษัท โกลเด้น พีค โฮมฟูด จำกัดโครงการระบบเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการจัดการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ พร้อมติดตามงานด้วยสมาร์ทแทรค โดย บริษัท พี ซี โอ.เอ.เทคโนโลยี จำกัดโครงการลดต้นทุน เพิ่มกำไร ด้วยระบบ ERP โดย บริษัท ไร้ท์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)โครงการ Cloud ERP เพื่อการพัฒนาและต่อยดทางธุรกิจ โดย บริษัท ไมครอน กรุ๊ป จำกัด
โครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีระบบ IoT จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการระบบรดน้ำสวนทุเรียนอัจฉริยะ โดย บริษัท เฟม เฮ้าส์ จำกัดโครงการฟาร์มไก่เบตงอัจฉริยะ โดย บริษัท ไก่โต้งเบตงยะลา จำกัดโครงการระบบช่วยงานบำรุงรักษาและเฝ้าระวังภัยของเครื่องจักร โดย บริษัท ซัมมิทเทค กรุ๊ป จำกัดโครงการพัฒนาระบบเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นสูงด้วย IoT โดย บริษัท เอส.ไอ.เอ ฟาร์ม จำกัดโครงการปรับปรุงระบบควบคุมการผลิตด้วย IoT โดย บริษัท โรงงานน้ำปลาชัยวัฒนา จำกัด
โครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีระบบ E-commerce จำนวน 3 โครงการ
ประกอบด้วย
โครงการเรียนรู้ประสบการณ์ทำร่มพื้นบ้าน โดย บริษัท ศูนย์ทำร่ม (1978) จำกัดโครงการภราดรฟาร์มนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ โดย บริษัท ภราดรอินโนซิส จำกัดโครงการปรับปรุงระบบการจองกิจกรรมหน้าเว็บไซต์ และระบบบริหารการจัดการงานขาย และการจัดส่งสินค้าอัจฉริยะ โดย บริษัท ซิมเปิ้ล ครีเอชั่น จำกัด
และโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีระบบ POS จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย
โครงการระบบควบคุมและโปรแกรมอัจฉริยะสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ โดย บริษัท กู๊ดฟู้ดส์ คอร์ปเปอเรชั่น จำกัดโครงการการบริหารจัดการระบบขายปลีกหน้าร้าน และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสต็อกสินค้า โดย บริษัท เอกวิทยา จำกัด
“ดีป้า มุ่งให้การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไทยสามารถยกระดับการบริหารจัดการภายในองค์กร ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และยอดขายด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Provider) ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และยกระดับประสิทธิภาพกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และหากดำเนินการครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 18 ล้านบาท” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนในมาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher) จำนวน 1 โครงการคือ โครงการขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินงาน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีโอกาสเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนสู่ธุรกิจดิจิทัลอย่างมีแบบแผน